ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย คืออะไร

ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย คืออะไร
ก) ทรัพย์ หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ ทั้งต้องเคลื่อนที่ได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น อสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่แยกออกมาเป็นสังหาริมทรัพย์แล้วเท่านั้นที่อาจถูกเอาไปได้ (ฎ.๕๗๔/๒๕๒๗,ฎ.๘๑๖/๒๕๔๐,ฎ.๕๔๒๓/๒๕๔๑,ฎ.๕๖๕/๒๕๔๒)
ฎ.๒๗๖๓/๒๕๔๑ การที่เพียงแต่ได้รับสิทธิให้เก็บรังนกอีแอ่น แต่ยังไม่ได้ยึดถือครอบครองจึงยังไม่เป็นเจ้าของ จำเลยทั้งสองมาเก็บรังนกไปจึงไม่ผิดฐานลักทรัพย์
ฎ.๗๖๘๐/๒๕๕๓ จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าที่มีอยู่ต่อลูกค้ารวม ๒๓ ราย ให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองกลับใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกค้าบางรายชำระค่าสินค้าแก่จำเลยทั้งสอง แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่ำวมิใช่วัตถุมีรูปร่างที่สำมำรถเคลื่อนที่ได้อันอำจจะมีการเอาไปได้ตามความหมายของคำว่าทรัพย์ ในความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ ทั้งการที่จำเลยทั้งสองไปขอรับเงินหรือเช็คค่าสินค้าจากลูกค้านั้น ก็ไม่ได้เป็นการกระทำแทนโจทก์ ดังนั้นเงินและเช็คดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ แต่เป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอันเป็นการผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น

ข้อมูลถือเป็นทรัพย์หรือไม่
ฎ.๕๑๖๑/๒๕๔๗ ข้อมูลไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ปพพ. มาตรา ๑๓๗ บัญญัติว่า ทรัพย์หมายความว่าวัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือว่าเป็น ทรัพย์ การที่จ าเลยน าแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

พลังงานเป็นทรัพย์ที่อาจถูกลักได้หรือไม่
กระแสไฟฟ้า ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยยุติว่าเป็นทรัพย์ที่ลักได้ (ฏ.๘๗๗/๒๕๐๑,ฎ.๑๘๘๐/๒๕๔๒,ฏ.๒๒๘๖/๒๕๔๕,ฎ.๖๓๘๔/๒๕๔๗,ฎ.๔๘๑/๒๕๔๙) ทั้งนี้อาจมองว่าวัตถุที่มีรูปร่างนั้นไม่ได้หมายถึงว่าต้องสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือสัมผัสได้เท่านั้น
ฎ.๑๘๘๐/๒๕๔๒ (ป) สัญญาณโทรศัพท์เป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูด เคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์ใช้ จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
ฎ.๕๓๕๔/๒๕๓๙ จำเลยนำโทรศัพท์มือถือมาปรับจูนและก๊อปปี้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายแล้วใช้รับส่งวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นเพียงการแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายโดยไม่มีสิทธิ มิใช่การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ (ฎ.๘๑๗๗/๒๕๔๓)

ศพเป็นทรัพย์หรือไม่
หากศพนั้นมีเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือกรรมสิทธิ์รวม คือมีการถือเอาหรือหวงกันแล้ว ศพอาจเป็นวัตถุแห่งการลักได้ เช่น โครงกระดูกในพิพิธภัณฑ์ (เทียบ ฎ.๑๑๗๔/๒๕๐๘) ดังนั้นหากเอาไปโดยทุจริตอาจเป็นความผิดตามมาตรา ๓๓๔ นอกเหนือไปจากความผิดตามมาตรา ๓๖๖/๓ คือการเคลื่อนย้ายศพโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้งนี้ยังอาจมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา ๓๕๘ ได้อีกด้วย

ทรัพย์นอกพาณิชย์
ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้ เช่น สายลม ก้อนเมฆ สำหรับทรัพย์ผิดกฎหมาย เช่น ของเถื่อนเป็นต้น แม้จะไม่สามารถถือเอาได้และไม่อาจโอนกันได้โดยผลของกฎหมาย ก็สามารถเป็นทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งการลักทรัพย์หรือยักยอกได้
ฎ.๑๙๗/๒๔๙๐ เจ้าพนักงานสรรพสามิตจับสุราไปแล้ว เอาสุรานั้นเสียโดยเจตนาทุจริตย่อมมีความผิดฐานยักยอก และถือว่าเจ้าของสุราเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษได้

ข) ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
ข.๑ กรณีจำนำ
หากผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไปเอาทรัพย์ของตนที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นย่อมไม่ผิดฐานลักทรัพย์ ดังนั้นการที่ผู้จำนำไปเอาทรัพย์ของตนจากผู้รับจำนำจึงไม่ผิดตาม มาตรา ๓๓๔ แต่ทั้งนี้มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามาตรา ๓๔๙
ข.๒ กรณีฝากทรัพย์
ฎ.๖๒๔/๒๕๕๓ การกระทำที่จะครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์นั้น จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต เงินฝากในบัญชีของโจทก์ที่ ๑ ที่ฝากไว้กับจำเลยทั้งสองตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองและตกอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากประการใดก็ได้ คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินตามที่โจทก์ทั้งสองฝากไว้เท่านั้น โดยไม่จำต้องคืนเงินจำนวนเดียวกับที่ฝากไว้ การที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ ๑ จึงไม่ใช่การเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ข.๓ กรณีนิติกรรมโมฆะ
ฎ. ๓๐๓/๒๕๐๓ จำเลยได้ขายกระบือของกลางให้แก้ผู้เสียหาย แต่ยังไม่มีการจดทะเบียนโอน จึงตกเป็นโมฆะตามปพพ. มาตรา ๔๕๖ เมื่อจำเลยผู้ขายเอากระบือกลับไปจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะกรรมสิทธิ์ยังอยู่ที่จำเลย
ข. กรณีส่วนควบ
ฎ.๑๐๙๓/๒๕๓๗ กรณีเป็นเรื่องเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่นหลายคนมารวมกันเข้าเป็นรถยนต์ชนิดมีตัวถังเป็นส่วนควบ เมื่อตัวรถยนต์ของผู้ให้เช่าซื้อถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธานตามปพพ. มาตรา ๑๓๑๖ ผู้ให้เช่าซื้อเป็นเจ้าของตัวรถยนต์จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่เพียงผู้เดียว โจทก์หาใช่เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไม่ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อเอารถยนต์นั้นไป จึงหาใช่เป็นการเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย การกระท าไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ฎ.๕๐๒/๒๕๖๓ ก่อนเกิดเหตุจำเลยกับผู้เสียหายอยู่กินกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสและระหว่างอยู่กินด้วยกันร่วมกันลงทุนประกอบกิจการร้านอินเทอร์เน็ตที่บ้านผู้เสียหายทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่กินกันฉันสามีภริยา ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์รวม โดยแต่ละฝ่ายมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคนละส่วนเท่าๆ กัน เมื่อเลิกกันต้องแบ่งกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง การที่จำเลยกับพวกมาขนทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมขณะอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปเป็นของตนฝ่ายเดียวทั้งหมด เป็นการเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์

ข้อสังเกต
ฎ.๙/๒๕๔๓ จำเลยลักบัตรเอ. ที. เอ็ม. ของผู้เสียหายแล้วไปถอนเงินของผู้สียหาย โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นความผิดฐานลักบัตรฯ และลักเงินผู้เสียหาย ต่างกรรมกันและยังเป็นความผิดตามมาตรา ๑๘๘ ต้องลงโทษตามมาตรา ๑๘๘ ซึ่งเป็นบทหนักข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้ความว่ามีการส่งบัตรไปให้ผู้เสียหายแล้ว ส่วนถ้ายังไม่มีการส่งบัตรฯไปให้ผู้เสียหายเคยมี ฎ.๖๑๓/๒๕๔๐ วินิจฉัยว่าเงินที่จำเลยกดออกมาเป็นของธนาคาร
ฎ.๖๕๐/๒๕๑๐ จำเลยจำนำสร้อยคอของตนไว้กับผู้เสียหายเพื่อเอามาเล่นการพนันแล้วจำเลยกระชากสร้อยเส้นนั้นไปจากคอผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อเท็จจริงหากเปลี่ยนเป็นว่า จำเลยแพ้พนันจึงตีสร้อยคอเป็นการชำระหนี้ย่อมเท่ากับเป็นการมอบการครอบครองสละกรรมสิทธิ์ให้ผู้เสียหาย แม้การชำระหนี้พนันจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ ปพพ.มาตรา ๔๑๑ บัญญัติว่าหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์หาได้ไม่ ผู้เสียหายย่อมมีอ านาจเหนือทรัพย์แล้ว หากจ าเลยเอากลับมาย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์
ฎ.๓๘๕๕/๒๕๖๓ แม้ลำคอเห็นได้ว่าเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย แต่ลักษณะของบาดแผลซึ่งฉีกขาดเพียงเล็กน้อย ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ใช้มีดปาดคอให้ลึกเพื่อให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ส่วนบาดแผลอื่นที่ผู้เสียหายได้รับก็เป็นเพียงแผลฉีกขาดและแผลถลอกเท่านั้น อีกทั้งหลังเกิดเหตุจำเลยยอมให้ผู้เสียหายเข้าห้องน้ำเพื่อล้างบาดแผล พฤติการณ์ ดังกล่าวมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาทำร้ายเท่านั้น ขณะที่จำเลยนั่งคร่อมผู้เสียหายอยู่บนเตียง กระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายวางอยู่บนเตียงและจำเลยดึง
ลิ้นชักรื้อค้นทรัพย์สิน ดังนั้น หากจำเลยประสงค์ต่อทรัพย์ตั้งแต่แรกจำเลยน่าจะรีบลักเอากระเป๋าสตางค์และทรัพย์สินอื่นของผู้เสียหายแล้วหลบหนีไปทันที แต่จำเลยยังคงอยู่ในห้องระหว่างที่ผู้เสียหายเข้าห้องน้ำประมาณ ๓๐ นาที และเพิ่งหลบหนีหลังจากที่ผู้เสียหายร้องให้คนช่วย พร้อมทั้งหยิบกระเป๋าสตางค์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายไป แสดงว่าการลักทรัพย์เกิดขึ้นในภายหลังและขาดตอนจากการทำร้ายร่างกายแล้ว อันเห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป และโดยมีอาวุธจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์โดยมีอาวุธ แต่มีความผิดฐานลักทรัพย์เท่านั้น

ข้อพิจารณาองค์ประกอบภายใน
๑. เจตนา หมายถึง ผู้กระทำรู้ถึงข้อเท็จริงที่เป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา ๕๙ วรรคสาม คือรู้ว่าทรัพย์เป็นของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแต่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเป็นของใคร (ฎ.๑๔๓๓/๒๕๓๐) และไม่สำคัญผิดในข้อเท็จจริงตามมาตรา ๖๒ เช่น เข้าใจว่าตนมีอำนาจเอาไปได้หรือเข้าใจว่าเจ้าของยกให้แล้ว (ฎ.๓๔๑๒/๒๕๕๐) เป็นต้น
การมีเจตนาอาจเป็นได้ทั้งประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป หรืออาจเป็นเจตนาย่อมเล็งเห็นผลก็ได้ เช่น การเอารถของผู้อื่นไปทิ้งในแม่น้ำซึ่งเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรถ (ฎ.๙๖๕/๒๕๒๑) หรือจำเลยขับรถของผู้เสียหายไปจอดทิง้ไว้ในทุ่งนาซึ่งมีป่าละเมาะห่างถนนประมาณครึ่งกิโลเมตร และห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ ๒ กิโลเมตร แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต เป็นความผิดตามมาตรา ๓๓๔
ฎ.๒๑๖/๒๕๐๙ จำเลยยอมให้ผู้เสียหายร่วมประเวณีมีสิ่งตอบแทน แต่ผู้เสียหายผิดข้อตกลง จำเลยไม่พอใจจึงได้ทำร้ายผู้เสียหายแล้วเอาปืนของผู้เสียหายไปทิ้งที่ปลักน้ำกลางทุ่งนาเพราะกลัวผู้เสียหายจะยิง การเอาปืนไปทิ้งน้ำโดยไม่เอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่นแสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์ การเอาปืนของผู้เสียหายไปทิ้งจึงไม่ผิดฐานลักทรัพย์
๒. เจตนาพิเศษ (มูลเหตุจูงใจ) หมายถึง ต้องมีเจตนาทุจริต ซึ่งตามมาตรา ๑ (๑) หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
ฎ.๒๙๖๐/๒๕๕๒ จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าป. กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์ร่วมอนุมัติให้จำเลยเบิกเงินเดือนล่วงหน้าของจำเลยได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ขออนุมัติจากป. ก่อนตามระเบียบ การเบิกเงินเดือนล่วงหน้าของจำเลยก็ไม่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต

ประโยชน์ที่ได้นั้นไม่จำต้องเป็นประโยชน์ในลักษณะทรัพย์สิน ก็ถือว่ามีเจตนาทุจริต
ฎ.๘๖๗/๒๕๑๓ ส. น. หลอก ซ. ว่า พ. คือ ว. เจ้าของที่ดิน นส.๓ ที่นำมาเป็นหลักประกันตัว ก. ต่อศาล ซ. หลงเชื่อทำหนังสือรับรองหลักประกันต่อศาล เป็นการกระทำโดยทุจริต แม้ ส. น. ไม่ได้ประโยชน์เป็นตัวทรัพย์ แต่ ก. จำเลยที่ศาลให้ประกันตัวไปก็ได้รับประโยชน์โดยการใช้หนังสือรับรองนั้น เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
- การเอาทรัพย์ไปที่ไม่ใช่ลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ไม่ถือว่ามีเจตนาพิเศษ
ฎ.๑๖๔๓/๒๕๓๕ จ าเลยเอาปืนของผู้เสียหายไปเพื่อจะยิงท้ำร้าย ส. ซึ่งเป็นชู้กับภริยาของจำเลยด้วยความบันดาลโทสะที่เห็น ส. นั่งอยู่กับภริยาของจำเลย มิได้มีเจตนาที่จะเอาปืนของผู้เสียหายไปเป็นของตนโดยทุจริต จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , #ทนายใกล้ตัว,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน