จะฟ้องเพิกถอนนิติกรรมได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ มาจากมูลสัญญาหรือมูลละเมิด หรือมูลหนี้อย่างอื่นย่อมได้ทั้งนั้นและไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิทางศาลแล้ว

การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมนั้น หลักกฎหมายไม่จำต้องใช้สิทธิ์ทางศาลก่อนถึงจะฟ้องเพิกถอนนิติกรรมได้ หากพิสูจน์ได้ว่าขณะที่มีการกู้ยืมเงินกันนั้น ลูกหนี้ทำการยักย้ายถ่ายโอนทรัพย์สิน เจ้าหนี้ย่อมทำการเพิกถอนนิติกรรมนั้นเสียเพราะเป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ

 

ตัวอย่าง นาย ก เป็นเจ้าหนี้เงินกู้นาย ข ขณะที่รอการชำระหนี้ตามสัญญานั้น นาย ข ได้แอบโอนที่ดินของตนเองและทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นชื่อของน้องสาวตนเอง เพื่อไม่ให้นาย ก เจ้าหนี้ติดตามยึดทรัพย์ของตนออกขายทอดตลาดได้หากตนเองเป็นฝ่ายผิดสัญญากู้ยืม

 

ดังนั้นนาย ก สามารถฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างนาย ข กับ น้องสาวได้ถือเป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นเพื่อทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและไม่สุจริต

 

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14934/2557 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาหลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วมีระยะเวลาห่างกันเพียง 1 เดือนเศษ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เมื่อเป็นการให้โดยเสน่หาจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบหรือไม่ว่าการทำนิติกรรมดังกล่าวเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้

 

จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 21585 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว 1 ไร่ และต่อมาจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 ทั้งแปลง อันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงต้องเพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองเท่ากับจำนวนเนื้อที่ตามที่จำเลยที่ 1 ขายให้โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองโดยไม่ระบุเนื้อที่เท่ากับเป็นการเพิกถอนการโอนทั้งแปลงย่อมเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และมาตรา 247

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,707