ลูกหนี้ยักย้ายถ่ายโอนที่ดินเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ยึดทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องเพิกถอนได้

          การกู้ยืมเงินกันบางท่านอาจจะให้ยืมไปโดยที่ขอให้ผู้กู้เอกสารสิทธิ์ เช่น เอกสารสิทธิ์ต่างๆเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน เอกสารสิทธิ์ทางด้านพาหนะรถยนต์หรือจักรยานยนต์ก็ เป็นต้น เพื่อให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้ว่าหากจะทำการขายหรือนำไปค้ำประกันการกู้ยืมเงินอื่นต้องมาชำระหนี้แก่ผู้ให้กู้ก่อน

          แต่ขอยกตัวอย่างในทางปฏิบัติปรากฏว่าลูกหนี้หลายๆ คนนำความไปแจ้งกับเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอเอกสารสิทธิ์ที่นำไปฝากกับเจ้าหนี้เพื่อยึดถือเป็นกระกันใหม่ โดยแจ้งว่าหาย ถูกทำลายอะไรก็แล้วแต่เพื่อให้ได้เอกสารตัวนี้มา เพื่อนำมาโอนขายแก่บุคคลอื่น(บุคคลที่สาม) หากทำการโอนโดยเสน่หาหรือผู้รับโอนทราบถึงการที่ให้บุคคลอื่นยึดถือโฉนดนั้นถือเป็นการไม่สุจริต เจ้าหนี้ย่อมติดตามร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ เป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบในการติดตามทรัพย์สินมาชำระหนี้ให้แก่ตน

          กรณีทำการแอบโอนขายต่อบุคลอื่นโดยมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นการเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตเจ้าหนี้ไม่อาจะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ กฎหมายต้องคุ้มครองบุคคลภายนอกซึ่งมิได้รู้ถึงการกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้เลย

          แต่การกระทำของลูกหนี้ที่ไปขอเอกสารสิทธิ์ใหม่โดยอ้างเหตุอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นความจริงนั้นย่อมมีความผิดตามกฎหมายอาญาในข้อหาแจ้งความเท็จกับเจ้าพนักงานต้องระวงถึงข้อนี้ด้วย

          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2553 การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 214 ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลจึงหมายถึงเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตาม แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้เมื่อโจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญาและฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมทราบว่าตกเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะให้โจทก์บังคับคดีได้อีกนอกจากที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการฉ้อฉลนั้นเสียได้ 

มาตรา 237 เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หาก กรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว เท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้

บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมีให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน

มาตรา 238 การเพิกถอนดังกล่าวมาในบทมาตราก่อนนั้น ไม่อาจกระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอน

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,707