สามีหรือภริยาแอบเอาสินสมรสไปจดทะเบียนขายฝากโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หากผู้รับจดทะเบียนขายฝากเป็นผู้ไม่สุจริต คู่สมรสย่อมฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้

การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากในทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสนั้น หัวใจหลักคือการที่ผู้รับซื้อฝากไม่สุจริตเป็นเหตุให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมสามารถร้องขอเพิกถอนนิติกรรมได้ คำว่าไม่สุจริตนั้นหมายถึงรู้เห็นกับผู้ทำนิติกรรม หรือควรจะรู้ได้ถึงเหตุดังกล่าวแต่กลับเพิกเฉย

          ตัวอย่าง นาย ก. กับนาง ข เป็นสามีภรรยาจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแล้วได้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินเพื่ออยู่อาศัยด้วยกัน แต่กลับใส่ชื่อนาย ก ไว้แต่เพียงผู้เดียว วันหนึ่งนาย ก . มีเรื่องต้องใช้เงินด่วนจึงนำบ้านพร้อมที่ดังหลังดังกล่าวที่เป็นสินสมรสไปจดทะเบียนขายฝากไว้กับนาง จ เพื่อนสนิทของ นาง ข โดยที่ นาง ข ไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยและนาง จ ก็ทราบว่านาย ก เป็นสามีภรรยากันกับนาง ข แต่กลับไม่มีการเซ็นยินยอมจากคู่สมรสในการจดทะเบียนขายฝากทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

          นาง ข ย่อมร้องขอเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากได้ทั้งหมดเนื่องจาก นาง จ ไม่ถือว่าเป็นผู้รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตนิติกรรมดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

อ้างถึงคำพิพากษาฎีกา 10633/2551 โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และเมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480

โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสคืนให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาเป็นของโจทก์ด้วย หากโจทก์ชนะคดีย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืน จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนของโจทก์ หากโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิกถอนทั้งหมด และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด โจทก์ย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดคืนมา จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

มาตรา 1480  การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน

  การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

            ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,705