พืชล้มลุกไม่ใช่ไม้ยืนต้น ถือว่าเป็นข้อยกเว้นไม่ตกเป็นทรัพย์ส่วนควบกับที่ดิน แม้จะปลูกในที่ดินของบุคคลอื่น ก็ถือว่าเป็นของผู้ปลูกมิใช่เป็นของเจ้าของที่ดิน แต่จำต้องพิสูจน์ให้ได้


พืชล้มลุกไม่ใช่ไม้ยืนต้น ถือว่าเป็นข้อยกเว้นไม่ตกเป็นทรัพย์ส่วนควบกับที่ดิน แม้จะปลูกในที่ดินของบุคคลอื่น ก็ถือว่าเป็นของผู้ปลูกมิใช่เป็นของเจ้าของที่ดิน แต่จำต้องพิสูจน์ให้ได้

          เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้นเสมอ จะเห็นได้ว่า สาระสำคัญของการที่จะเข้าหลักเกณฑ์ให้ทรัพย์นั้นกลายเป็นส่วนควบได้นั้น สภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกัน นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป แต่ตามมาตรา 146 ยังได้บัญญัติเพิ่มเติมอีกว่า ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย


          นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน


          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532 สับปะรดเป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรดไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรดจึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น


          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2532 ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกไม้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 108 วรรคแรก แต่ ถ้า ไม้ยืนต้นนั้น ผู้ปลูกมีเจตนาจะปลูกลงในที่ดินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดเพียงชั่วคราว ย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ติด กับที่ดินเพียงชั่วคราวไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 109 จำเลยตกลง ให้ผู้ร้องปลูกต้นสน ลงในที่ดินของจำเลย เมื่อต้นสนโต เต็มที่จะตัด ขายเอาเงินมาแบ่งกัน ต้นสน ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินแต่ เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง จำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาจากต้นสนส่วนของผู้ร้องซึ่ง เป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนได้ (วรรคแรก วินิจฉัยโดย มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2532)


          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2516  ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน โดยมิได้จดทะเบียนสมรสทำมาหาเลี้ยงชีพร่วมกันจำเลยกับผู้ร้องได้ร่วมกันปลูกเรือนพิพาทในที่ดินของผู้ร้อง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าผู้ร้องยินยอมให้ใช้ที่ดินของผู้ร้องปลูกเรือนพิพาทใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยกับผู้ร้องร่วมกัน จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามที่ผู้ร้องยินยอม กรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 109 ไม่ถือว่าเรือนพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนควบกับที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องแต่ผู้เดียว หากแต่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยกับผู้ร้องร่วมกัน


เมื่อจำเลยเป็นเจ้าของร่วมในเรือนพิพาท ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยจากการยึดทรัพย์ คงมีแต่สิทธิขอกันส่วนของตนออกมิให้ถูกบังคับชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น


          ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 144  บัญญัติว่า ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,705