กรณีที่ผู้ปล่อยเงินกู้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยสุจริต ไม่อาจเรียกร้องสิทธิ์นั้นๆ ตามกฎหมายได้

กรณีที่ผู้ปล่อยเงินกู้คิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่อาจใช้สิทธิตามกฎหมายได้ เพราะถือว่าไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย(หมายถึง ผู้เสียหายที่มิได้มีส่วนในการกระทำความผิด)

ตัวอย่าง นาย ก ปล่อยเงินกู้แก่นาย ข โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 30 ต่อเดือน ต่อมาเมื่อครบกำหนดนาย ข ไม่มีเงินชำระหนี้ได้ร้องขอนาย ก ว่าหากให้ตนยืมเงินเพิ่มขึ้นโดยตกลงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 40 ต่อวันจะทำการชำระคืนทั้งหมดภายในสามเดือน นาย ก ตกลง ต่อมาเมื่อถึงกำหนดนาย ข ไม่ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยใดๆ ให้แก่นาย ก เลย นาย ก จึงนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีอาญาข้อหาฉ้อโกง

ดังนั้น การกระทำของนาย ก ไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่อาจนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเพื่อลงโทษเอากับผู้ต้องหาได้เพราะตนก็เป็นผู้ที่กระทำความผิดต่อกฎหมายด้วยในการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ถือเป็นเรื่องเดียวกัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 7869/2560 โจทก์ร่วมเป็นนายทุนปล่อยเงินกู้ โดยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลประโยชน์ที่เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายอันเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 ขณะเกิดเหตุ #ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันหลอกลวงโจทก์ร่วมหรือไม่ก็ตาม #ถือได้ว่าโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย #ไม่อาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 และมาตรา 120 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3”

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,699