การครอบครองปรปักษ์ย่อมหมดสิทธิ์เรียกร้องไปตั้งแต่โอนขายให้แก่บุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าใช้จ่าย

          กรณี การครอบครองปรปักษ์นั้นไม่อาจยกขึ้นต่อสู้กับบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่สาม ผู้ซึ่งสุจริตและเสียค่าตอบแทน นั้นหมายถึงผู้ที่ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นหรือรู้เรื่องการครอบครองปรปักษ์อยู่ก่อนเลย และต่อมาได้ติดต่อทำการซื้อขายและเสียค่าตอบแทนตามกฎหมายทุกอย่าง การซื้อขายนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้ที่ครอบครองปรปักษ์ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของตนขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้

          ตัวอย่าง นาย ก ครอบครองที่ดินโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของนานกว่า 10 ปีมีสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์แต่ยังไม่ได้ไปร้องขอกรรมสิทธิ์ดังกล่าวในที่ดินของนาย ข ต่อมาเจ้าของที่ดินต้องการที่จะขายไปยังบุคคลภายนอก ได้มานาย จ ติดต่อขอซื้อ บังเอิญว่าในวันนัดไปดูที่ดินนาย ก ผู้ครอบครองปรปักษ์ไม่ได้อยู่ในที่ดินดังกล่าว ทำให้นาย ม เข้าใจว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของนาย ข จึงได้ทำการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและไปโอนซื้อขายที่ดินกันตามกำหนดนัด เมื่อปรากฏว่านาย ข บุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ภายหลังนาย ก จะมาใช้สิทธิ์ขอครอบครองปรปักษ์ย่อมกระทำไม่ได้ และนาย ม มิสิทธิ์ฟ้องขับไล่นาย ก ออกไปจากที่ดินของตรเสีย

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2552 บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง หมายถึง บุคคลใดๆ ก็ได้ที่มิใช่เจ้าของที่ดินเดิมซึ่งได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เมื่อธนาคาร ก. เป็นทั้งผู้รับจำนองที่ดินพิพาทจากเจ้าของที่ดินเดิมและยังเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ธนาคาร ก. จึงเป็นบุคคลภายนอกย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง

เมื่อธนาคาร ก. ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลโดยไม่ปรากฏว่าซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ อย่างไร ก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่ผู้ซื้อว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ถือว่าธนาคาร ก. ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ผู้ร้องไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันธนาคาร ก. ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. ภายใน 10 ปี นับแต่วันรับโอนจากธนาคาร ก. และรับโอนโดยไม่สุจริตก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครองครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนคนต่อมาได้ เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ธนาคาร ก. ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตตอนแรก แม้ผู้ร้องจะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา แต่การครอบครองในช่วงหลังที่ธนาคาร ก. และผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์มา เมื่อนับถึงวันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์ต่อผู้คัดค้านที่ 1 ครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วด้วยหาได้ไม่

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,707