สู้คดีกู้ยืมเงิน แบบใดที่สามารถนำพยานบุคคลเข้าสืบได้

สู้คดีกู้ยืมเงิน แบบใดที่สามารถนำพยานบุคคลเข้าสืบได้
ในการนำสืบว่ามีการกู้ยืมเงิน หรือมีการชำระหนี้เงินยืมแล้ว ต้องมีพยานหลักฐานเป็นเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 653 วรรคหนึ่ง และ 653 วรรคสอง เท่านั้น การนำสืบในเรื่องทั้งสองนี้ถูกต้องห้ามมิให้พยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารเพราะเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ที่บัญญัติว่า “เมื่อใดที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ถึงแม้ว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี

กรณีที่นำสืบพยานบุคคลได้
1. กู้เงินกันไม่เกินสองพัน กรณีกู้เงินไม่เกินสองพันบาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 มิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้นผู้ให้กู้จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลได้ว่ามีการกู้เงินกันจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2473 การกู้ยืมเงินกันไป 50 บาท ถึงไม่มีหนังสือต่อกันเป็นหลักฐานก็ฟ้องขอให้ศาลบังคับได้

2. นำสืบถึงมูลหนี้ของสัญญากู้ การนำสืบถึงความเป็นมาของจำนวนเงินในสัญญากู้ หรือความเป็นมาของหนี้ตามสัญญากู้นั้น ย่อมสืบพยานบุคคลได้ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องไว้ก็ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบนอกฟ้อง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2430 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินและได้รับเงินกู้ไปแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่าเดิมสามีจำเลยกู้เงินโจทก์ไป จำเลยรู้เห็นด้วย เมื่อสามีจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ แต่จำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญากู้นั้น จึงเป็นการนำสืบถึงมูลหนี้ของสัญญากู้ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้โดยไม่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง และไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากคำฟ้อง

3. นำสืบว่าสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ การนำสืบว่าสัญญากู้ไม่สมบูรณ์นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้นำพยานบุคคลสืบได้

4. นำสืบว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ การที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลว่าหนี้ที่โจทก์ฟ้องไม่สมบูรณ์นั้น จำเลยมีสิทธินำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ทำนองเดียวกับนำสืบว่าสัญญากู้ไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2509 จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์เพราะโจทก์ตกลงซื้อสวนมะพร้าวจำเลย จำเลยรับเงินจากโจทก์ไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะถือเป็นค่าสวนมะพร้าวต่อเมื่อจำเลยสามรถโอนสวนมะพร้าวให้โจทก์ได้ มิใช่จำเลยเจตนากู้เงินกัน 60,000 บาท การทำสัญญากู้จึงเป็นการเอาหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวมาทำเป็นสัญญาเงินกู้ มิใช่รับเงินเนื่องจากการกู้เงินกันโดยแท้จริงในขณะทำสัญญากู้ยังไม่รู้ว่าจำเลยจะต้องคืนเงินหรือไม่แล้วแต่หนี้ที่จะเกิดจากสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวอีกส่วนหนึ่งเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีในการทำสัญญากู้ที่ให้บังคับกันได้ก็คือให้ใช้เงินคืนแก่กันในลักษณะกู้เงินตามจำนวนที่จะต้องคืน โดยอาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าว ซึ่งหากจะต้องมีการคืนหรือหักเงินกันต่อไปข้างหน้า จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่า ความจริงจำเลยรับเงินไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท มิใช่การนำสืบแปลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำนวนหนี้ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริง จำเลยมีสิทธินำสืบได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสุดท้าย

5. นำสืบว่าไม่มีมูลหนี้ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีมูลหนี้ตามสัญญากู้นั้น จำเลยมีสิทธิกระทำได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2507 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์และรับเงินไปแล้ว โจทก์ไปทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉยจำเลยให้การว่าไม่ได้กู้และรับเงินโจทก์ โจทก์เชิด พ. เป็นตัวแทนรับจ้างเหมาทำงานของทางราชการแล้วให้จำเลยกับ พ. เป็นผู้ลงแรง และเพื่อเป็นหลักประกันว่า เมื่อจำเลยกับ พ. รับเงินค่าจ้างจากทางราชการแล้วจะนำมามอบให้โจทก์ โจทก์จึงให้จำเลยและ พ. ทำหนังสือสัญญาเงินกู้ไว้ให้คนละฉบับโดยมิได้มีการรับเงินตามสัญญานั้น จำเลยกับ พ. ได้มอบเงินให้โจทก์ทุกครั้งที่รับมาคงเหลืองวดสุดท้าย ที่ถูกทางราชการหักไว้เป็นค่าปรับ จึงไม่สามารถนำเงินมาให้โจทก์เพื่อขอสัญญากู้คืนขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ จำเลยมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ได้เพราะเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอันเป็นมูลเหตุ และความประสงค์ที่ทำสัญญากู้ขึ้นประการหนึ่ง กับนำสืบว่ามูลหนี้อันจำทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์นั้นไม่มี

6. นำสืบว่าสัญญากู้ปลอม การนำสืบพยายานบุคคลว่าสัญญากู้ปลอมนั้น จำเลยย่อมนำสืบได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2510 โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ให้การปฎิเสธการกู้เงินและปฎิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากู้ให้โจทก์ ลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อที่จำเลยที่ 1 ลงไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นหลักฐานแห่งหนี้การพนันที่จำเลยที่ 1 เสียแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นลงในแบบพิมพ์นั้น สัญญากู้ที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม ดังนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ได้ เพราะไม่ใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเอกสาร

7. สืบชำระหนี้อย่างอื่นแทน การสืบพยานบุคคลว่าชำระหนี้อย่างอื่น แทนหนี้เงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 321 นั้น ย่อมนำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2510 การชำระหนี้เงินกู้ด้วยเช็ค เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

8. สืบว่าผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงิน การนำสืบเช่นนี้คู่กรณีมีสิทธิ์นำสืบได้ต้องห้ามเพราะเป็นการนำสืบว่าเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 652 วรรคสอง มีคำ
พิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัย คือคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2524 ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อการนำสืบการใช้เงินตามสัญญากู้ยืมและคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2492 ในหัวข้อการยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินตามมาตรา 686

9. นำสื่อในเรื่องดอกเบี้ย การนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยเช่นดอกเบี้ยผิดกฏหมาย มีการชำระดอกเบี้ยแล้ว หรือมีการมอบนาให้ทำกินต่างดอกเบี้ยนั้นคู่กรณีย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ดังเช่นการนำสืบในเรื่องการชำระต้นเงินกู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261-1262/2518 การนำสืบว่าผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ไม่ใช่ร้อยละ 1.25 ดังที่ปรากฏในเอกสารเป็นการสืบให้เห็นว่าเรียกดอกผิดกฎหมายย่อB


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 644,037