การเพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสสามารถทำได้หรือไม่

การเพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสสามารถทำได้หรือไม่

๑. การจัดการสินสมรส (มาตรา ๑๔๗๖)
กรณีคู่สมรสต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน หรือได้รับความยินยอม
๑. ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ (มาตรา ๑๔๗๖ (๑))
โจทก์และจำเลยที่ ๑ ได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔ (๑) การที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ ๒ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ (๑) และเมื่อจำเลยที่ ๒ รับซื้อฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ ได้ทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๘๐ (ฏ.๑๐๖๓๓/๒๕๕๑)
การขายสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า เป็นการจัดการสินสมรสที่คู่สมรสต้องจัดการร่วมกันตามมาตรา ๑๔๗๖ (๑)
เมื่อ ส. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาระหว่างการสมรส สิทธิครอบครองนั้นจึงเป็นสินสมรสของ ส. กับโจทก์ การขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเป็นการจัดการสินสมรสที่สามีและกริยาต้องจัดการร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ (๑)ละ (๕) และจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า ส. มีโจทก์เป็นภริยาโดยยชอบด้วยกฎหมายอยู่ในขณะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย เป็นการจัดการสินสมรสที่ขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๔๗๖ โจทก์จึงมีสิทธิให้ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายและโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๘๐

สังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
มาตรา ๑๔๗๖ (๑) ได้บัญญัติว่าการขาย ฯลฯ สังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้เป็นกรณีที่สามีภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือให้ความยินยอม สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษก็เป็นทรัพย์ที่อาจจำนองได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๐๓ ดังนี้ การขาย แลกเปลี่ยน ขายฝากให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ คู่สมรสต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย

ส่วนสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ตามกฎหมายอื่น ได้แก่ เครื่องจักร (พระราชบัญญัติเครื่องจักร พ.ศ.๒๕๑๔) และรถยนต์ (ตาม พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.๒๕๕๑) ดังนี้ การนำเครื่องจักรหรือรถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสไปขาย แลกปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน
๒. ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (มาตรา ๑๔๗๖ (๒))
๓. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี (มาตรา ๑๔๗๖ (๓))
ตามมาตรา ๑๔๗๖ (๓) บัญญัติห้ามเฉพาะการจัดการอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสินสมรส โดยการนำออกให้ผู้อื่นเช่าเกินสามปี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สินสมรสตามอนุมาตรานี้ต้องเป็นตัวอสังหาริมทรัพย์ ถ้าสินสมรสเป็นสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น สิทธิการเช่าดังกล่าวมิใช่อสังหาริมทรัพย์ กฎหมายมิได้บัญญัติให้สามีภริยาต้องจัดการร่วมกัน ดังนี้ สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการได้โดยลำพัง สามีหรือภริยาฝ่ายเดียวย่อมโอนสิทธิการเช่าอันเป็นสินสมรสได้ไม่ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย
แม้สิทธิการเช่าอาคารพิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากวัด ส. เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมก็ตาม แต่การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทใช่กรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมจะต้องจัดการร่วมกันหรือจะต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ (๑) ถึง (๘) ดังนั้น ย่อมเป็นอำนาจของจำเลยที่จัดการได้ลำพังโดยมิต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมตามมาตรา ๑๔๗๖ แม้จำเลยจะโอนสิทธิการเช่า อาคารพิพาทให้โจทก์ โดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นยินยอมก็ตาม จำเลยร่วมก็ไม่อาจเพิกถอนการ
โอนดังกล่าวตามมาตรา ๑๔๘๐ ได้ (ฎ.๙๖๐๗/๒๕๔๔)
แม้สิทธิการเช่าที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ ๑ เป็นผู้เช่าจาก ป. เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ แต่การโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทด้วยการนำออกให้จำเลยที่ ๒ เช่าช่วงหาใช่เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ ๑ จะต้องจัดการร่วมกันหรือจะต้องได้รับความยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ (๑) ถึง (๘) ไม่ เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ (๓) ห้ามจัดการสินสมรสเพียงฝ่ายเดียวเฉพาะการให้เช่อสังหา-ริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสซึ่งไม่รวมถึงการจัดการสิทธิการเช่าซึ่งไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์และไม่เป็นทรัพสิทธิอันจะถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ในตัวเองตามประมวลกฎหมายวแพ่งและพาณิชย์มาตรา๑๓๙ ด้วย จึงเป็นอำนาจของจำเลยที่ ๑ ที่จะจัดการได้ตามลำพัง โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ วรรคสอง แม้จำเลยที่ ๑ จะโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ ๒ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมโจทก์ก็ไม่อาจจะเพิกถอนนิติกรมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๔๘๐ (ฎ.๑๒๗๗๒/๒๕๕๕)
๔. ให้กู้ยืมเงิน (มาตรา ๑๔๗๖ (๔))
การให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายตามมาตรา ๑๔๗๖ (๔) ส่วนการกู้ยืมเงินไม่ใช่การจัดการสินสมรสที่ต้องได้รับความยินยอมด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๔๗๖ (๔) มุ่งหมายให้การให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายในการจัดการสินสมรส การกู้ยืมเงินมิใช่ให้กู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว (ฎ.๖๑๙๓/๒๕๕๑)
๕. ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศลเพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
การให้โดยเสน่หา ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๗๖ (๕)
การที่ ง. ยกที่ดินสินสมรสให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรและหลานโดยเสน่หา มิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ (ฎ.๔๔๓๓/๒๕๓๖)
แม้ ว. ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายแต่โดยธรรมจรรยาซึ่งเป็นความรู้สึกผิดชอบภายในจิตใจที่เกิดจากพื้นฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เป็นบิดา ว. ย่อมมีความผูกพันที่จะให้การเลี้ยงดูจำเลย ซึ่งเกิดมาโดยปราศจากความผิดใดๆ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของจำเลยเป็นสำคัญซึ่ง ว. ก็ได้จัดให้จำเลยได้รับการศึกษาและดูแลจำเลยตลอดมาจนกระทั่ง ว. ถึงแก่ความตาย การที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยแก่จำเลยและ ศ. ซึ่งเป็นมารดาของจำเลย โดยบ้านและ ที่ดินเป็นทรัพย์สินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่ ว. มีอยู่ร่วมกับโจทก์ จึงเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาอันพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว โจทก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๔๘๐(ฎ.๗๔๑๙/๒๕๔๓)
๖. ประนีประนอมยอมความ (มาตรา ๑๔๗๖ (๖))
การประนีประนอมยอมความที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย ตามมาตรา๑๔๗๖ (๖) นั้น ต้องเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะ ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์กับ ส. ให้แก่จำเลยแล้ว ผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและมัดจำคืน ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมชำระเบี้ยปรับและคืนเงินมัดจำให้จำเลย ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านได้ระงับไปแล้วด้วยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๘๕๒ โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงินมิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๔๗๖, ๑๔๗๗ และ ๑๔๘๐โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้เช่นเดียวกัน (ฏ.๒๙๑๐/๒๕๓๑)
กรณีสามีภริยายังไม่หย่าขาดกัน สามีไปอยู่กินฉันสามีภริยากับหญิงอื่น ทรัพย์สินที่สามีกับหญิงคนใหม่ทำมาหาได้ร่วมกันย่อมเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีกับหญิงคนใหม่คนละครึ่ง แต่ในส่วนของสามี ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสกับภริยาตามมาตรา ๑๔๗๔ (๑)
ทรัพย์สินที่จำเลยที่ ๑ ได้มาในขณะที่จำเลยที่ ๑ ได้จำเลยที่ ๒ เป็นภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ ๒ และถือว่าในส่วนที่จำเลยที่ ๑ มีกรรมสิทธิ์เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ ๑ ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์เป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔ (๑) การที่จำเลยที่ ๑ ตกลงกับจำเลยที่ ๒ เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินให้ฝ่ายใดได้รับทรัพย์สินใดบ้าง ย่อมมีผลทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ ๑ หรือที่ ๒ แต่ผู้เดียว มิใช่การแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมตามปกติดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๖๔ หากแต่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะเป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันที่มีอยู่ โดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน การที่จำเลยที่ ๑ ตกลงกับจำเลยที่ ๒ เกี่ยวกับสินสมรสย่อมเป็นการจัดการสินสมรสซึ่งตามมาตรา ๑๙๗๖ (๖) วรรคหนึ่งบัญญัติให้ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ้ายหนึ่ง เมื่อโจทก์มีได้ให้ความยินยอมโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมแบ่งทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา ๑๔๘๐ (ฎ.๖๘๗๐/๒๕๕๖)
๗. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย (มาตรา ๑๔๗๖ (๗))
๘. นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล (มาตรา๑๔๗๖ (๘))
กรณีตามมาตรา ๑๔๖ (๘) นี้ เป็นกรณีนำสินสมรสไปเป็นประกัน แต่การค้ำประกันไม่ใช่การประกันด้วยทรัพย์ ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย การที่ น. ภริยาโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของ ส. โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๔๗๖, ๑๔๗๗ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอเพิกถอน (ฎ.๔๐๔๖/๒๕๓๕)การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง "สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง" การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง (มาตรา๑๔๗๙)

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน