การจัดการสินสมรสที่ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การจัดการสินสมรสที่ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การจัดการสินสมรสที่สามีภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๗๖ รวม ๘ กรณีนั้น เป็นกรณีที่มีความสำคัญ จึงต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย สำหรับการจัดการสินสมรสกรณีอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๗๖ วรรคหนึ่ง สามี หรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง (มาตรา ๑๔๗๖ วรรคสอง)
คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่ ๑ ลูกจ้างจำเลยที่ ๒ ได้ก่อให้ เกิดความเสียหายแก่สินสมรสของโจทก์จากจำเลยที่ ๒ จึงไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ วรรคหนึ่ง ระบุไว้ใน (๑)-(๘) แต่ประการ ใด และในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรส นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามี หรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ฉะนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี (ฎ.๒๕๔๗/๒๕๓๘)
การทำพินัยกรรม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่จะต้องได้รับความยินยอมจาก คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ วรรคหนึ่ง
แม้ ร. มีสิทธิทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทที่เป็นสินสมรสระหว่าง ร. กับโจทก์ส่วนที่ ร. มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา วรรคสอง ได้ก็ตาม แต่ ร. ก็ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนของโจทก์อีก ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยได้ การที่ ร. ทำพินัยกรรมยกบ้านสินสมรสทั้งหลังให้แก่จำเลย จึงไม่มี ผลผูกพันส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของ มีสิทธิฟ้องติดตามเอาคืน ทรัพย์ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาการใช้สิทธิ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วย อายุความได้สิทธิ โดยโจทก์ไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของ ร. ก่อน (ฎ.๓๕๔๔/ ๒๕๔๒)
ภริยาฟ้องเรียกเงินมัดจำค่าซื้อที่ดินจากผู้จะขายตามสัญญาซื้อขายที่ดิน ไม่ใช่การ จัดการสินสมรส ไม่อยู่ในข้อจำกัดที่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน (ฎ.๒๒๒๐/๒๕๓๘)
การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือ ยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์นั้น ถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ย. แลกเปลี่ยนที่ดินสมรสกับโจทก์ (ฎ.๓๒๓๔/๒๕๓๖)
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๑๔๗๖ วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ซึ่งเป็นสามีภรรยาย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับ ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้ เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตาม มาตรา ๑๔๗๖ วรรคสองและมาตรา ๑๔๘๔ (๑) (๕) (ฎ.๓๓๘๒/๒๕๕๘)
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เป็นลูกจ้าง ไม่เป็นสินสมรส การ
ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส ภริยาผู้เป็นลูกจ้าง จึงมีอำนาจ ฟ้องคดีได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี (ฎ.๘๗๔/๒๕๓๒)
การให้ความยินยอมทำนิติกรรม
การให้ความยินยอมในการจัดการสินสมรส อาจให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะราย หรือให้ความยินยอมล่วงหน้าตลอดไปก็ได้ (ฎ.๓๑๘๖/๒๕๓๘)
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments