ต้องดำเนินการอย่างไร หากศาลมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว

ต้องดำเนินการอย่างไร หากศาลมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว

เมื่อศาลสั่งประทับฟ้องแล้ว ขั้นตอนทางคดีก็จะเข้าสู่ในชั้นของการพิจารณา ซึ่งตามกฎหมายต้องมีการดำเนินการต่าง ๆ ติดตามมาคือ

๑. การส่งสำเนาฟ้อง
กรณีนี้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๘ กล่าวคือ เมื่อศาลประทับ ฟ้องแล้ว ให้ส่งสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยรายตัวไป เว้นแต่จำเลยจะได้รับสำเนาฟ้องไว้ก่อนแล้ว

๒. การออกหมายเรียกหรือหมายจับ
ในชั้นพิจารณา จำเลยเป็นประธานของกระบวนการ การพิจารณาต้อง กระทำต่อหน้าจำเลยเป็นหลัก เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น ดังนั้น จึงต้องได้ตัวจำเลยมา ในชั้นพิจารณา มาตรา ๑๖๙ จึงบัญญัติว่า เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัวจำเลยมา ให้ศาลออกหมายเรียกหรือหมายจับมาแล้วแต่ควรอย่างใดเพื่อ พิจารณาต่อไป

ฎีกาที่ ๑๘๘๙/๒๕๔๑
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า คดีโจทก์มีมูลให้ประทับฟ้อง ไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยมาศาลและให้การแก้คดี แต่จำเลยไม่มาตามนัด ศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว การที่โจทก์ยื่นคำร้องว่า หมายจับคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงเกี่ยวกับวันเริ่มต้นนับอายุความ ศาลชั้นต้น มีคำสั่งว่าอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ปฏิเสธการจ่ายหลังสุด ให้เพิกถอนหมายจับ เดิมแล้วออกหมายจับจำเลยใหม่ โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำสั่งศาลเรื่อง การออกหมายจับเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งจนกว่าศาล จะมีคำพิพากษาจึงไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง ว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว ไม่ใช่เป็นคำสั่งให้จำหน่ายคดี โดยเด็ดขาด เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งใด ๆ ของศาลชั้นต้นในระหว่างนี้เป็นอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๖ มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น เช่นนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็น ที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๘ ทวิ โจทก์จึงไม่มี สิทธิฎีกาได้อีก

ฎีกาที่ ๓๐๓๑/๒๕๒๖
ในคดีอาญา เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับฟ้องแล้วศาลชอบ ที่จะต้องออกหมายเรียกหรือหมายจับจำเลยมาแล้วแต่ควรอย่างใดเพื่อให้ได้ตัว จำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลเสียก่อนแล้วจึงทำการพิจารณาต่อไป การที่ศาลสั่งกำหนด วันนัดสืบพยานโจทก์โดยยังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาล จึงเป็นกระบวนพิจารณาข้าม ขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามนัด ในวันนั้นก็ไม่มีตัวจำเลยอยู่ในอำนาจศาลวันเวลาที่นัดไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวันเวลานัดสืบพยานโจทก์ เมื่อโจทก์ ไม่มาศาลตามวันเวลาดังกล่าวจะถือเป็นเหตุยกฟ้องโดยอาศัยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๖ ประกอบด้วยมาตรา ๑๘๑ หาได้ไม่4

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 644,037