พยานในพินัยกรรม ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
พยานในพินัยกรรม ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
การทำพินัยกรรมเป็นวิธีที่บุคคลสามารถจัดการทรัพย์สินและเจตจำนงของตนหลังจากเสียชีวิต โดยการทำตามรูปแบบของกฎหมาย เพื่อให้พินัยกรรมนั้นมีผลใช้บังคับได้ถูกต้องตามกฎหมาย หนึ่งในข้อกำหนดสำคัญของการทำพินัยกรรมคือการมีพยานในการลงนาม ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1670 ได้กำหนดคุณสมบัติของพยานไว้อย่างชัดเจน ดังนี้
บรรลุนิติภาวะ – พยานจะต้องเป็นผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือเป็นผู้บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย ไม่สามารถใช้บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมได้
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือเสมือนไร้ความสามารถ – พยานจะต้องมีสติปัญญาปกติ ไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถตามคำสั่งของศาลในขณะลงลายมือชื่อรับรอง
ไม่ใช่คนหูหนวก ตาบอด 2 ข้าง เป็นใบ้ - ในการเป็นพยานจะต้องสามารถเข้าใจในเรื่องที่เกิดขึ้นขณะการทำพินัยกรรม เช่น สามารถรับรู้ได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมได้แสดงเจตจำนงในการจัดสรรทรัพย์สินอย่างไร และสามารถรับรู้ถึงการลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมและพยานคนอื่นๆ ซึ่งอาจต้องมีการเบิกความต่อศาล จึงจำเป็นต้องมีการคัดกรองผู้ที่มีความสามารถในการรับรู้ได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อผู้รับพินัยกรรมในภายหลัง
อนึ่ง นอกจากคุณสมบัติทั้ง 3 ข้อแล้ว ในการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นพยานในพินัยกรรมนั้น มาตรา 1653 ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุว่าพยานและคู่สมรสของพยาน จะเป็นผู้รับทรัพย์สินในพินัยกรรมไม่ได้ โดยหากมีการให้ผู้รับพินัยกรรมหรือคู่สมรสของผู้รับพินัยกรรมเป็นพยานแล้ว พินัยกรรมยังคงสมบูรณ์และถือว่ามีพยาน แต่ในส่วนของที่ยกให้กับพยานจะตกไป และต้องนำมาแบ่งปันแก่ทายาทเสมือนเป็นมรดกที่ไม่ได้มีการทำพินัยกรรมต่อไป
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments