ผู้ทำพินัยกรรมขายทรัพย์สินที่ตนระบุไว้ในพินัยกรรมก่อนตายได้หรือไม่

ผู้ทำพินัยกรรมขายทรัพย์สินที่ตนระบุไว้ในพินัยกรรมก่อนตายได้หรือไม่
ตามกฎหมายไทย ผู้ทำพินัยกรรมยังคงมีอำนาจบริบูรณ์ในการจัดการทรัพย์สินของตนตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ว่าจะได้ทำพินัยกรรมระบุให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้รับพินัยกรรมแล้วก็ตาม การทำพินัยกรรมไม่ได้จำกัดสิทธิของผู้ทำพินัยกรรมในการใช้ จำหน่าย จ่าย โอน หรือก่อภาระผูกพันใดๆ เหนือทรัพย์สินของตน โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696 ให้สิทธิผู้ทำพินัยกรรมโอนไปซึ่งวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมได้ ดังนั้นผู้ทำพินัยกรรมย่อมสามารถขายทรัพย์สินของตนได้ภายใต้หลักกรรมสิทธิ์ ซึ่ง
จะเกิดผลดังนี้:
1 พินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเป็นอันเพิกถอนไป แต่ไม่ได้ทำให้พินัยกรรมเสียไปทั้งฉบับ
2 ผู้รับพินัยกรรมจะไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์สินนั้นหรือเรียกร้องค่าทดแทนใดๆ เว้นแต่จะมีข้อกำหนดเป็นอย่างอื่นในพินัยกรรม
อย่างไรก็ดี การจำหน่ายทรัพย์สินในพินัยกรรมตามมาตรา 1696 นั้น จะเป็นให้เพิกถอนเฉพาะการโอนไปโดยสมบูรณ์ และด้วยความตั้งใจเท่านั้น หากเป็นการโอนที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ขายที่ดินมีโฉนดแต่ไม่ได้จดทะเบียนโอน หรือ โอนสังหาริมทรัพย์อื่นไปโดยผิดหลง ถูกหลอกลวง ถูกข่มขู่ ทายาทตามพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนได้
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว
5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 641,735