ทรัพย์ที่ได้มาจาก มรดกหรือจากพินัยกรรม เป็นสินสมรสหรือไม่

ทรัพย์ที่ได้มาจาก มรดกหรือจากพินัยกรรม เป็นสินสมรสหรือไม่

กรณีดังกล่าว มาตรา 1471(3) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุชัดเจนว่าทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับมาจากการให้โดยเสน่หา การรับมรดก หรือการได้รับตามพินัยกรรมจะถือเป็น "สินส่วนตัว" ไม่ใช่สินสมรส กล่าวคือ หากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับทรัพย์สินจากการรับมรดกหรือพินัยกรรม ทรัพย์สินนั้นจะถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้รับ ไม่ต้องนำมารวมเป็นสินสมรส แม้จะได้รับในช่วงเวลาที่สมรสอยู่ก็ตาม เว้นแต่พินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือนั้น ผู้ให้หรือผู้ทำพินัยกรรมได้ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นสินสมรส ตามมาตรา 1474(2)

อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังคือ หากทรัพย์สินที่ได้รับจากมรดกหรือพินัยกรรมถูกนำไปใช้หรือเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส เช่น นำเงินที่ได้จากมรดกไปลงทุนหรือนำไปซื้อทรัพย์สินใหม่ ทรัพย์สินใหม่ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนนี้อาจถูกพิจารณาให้เป็นสินสมรสได้ หากไม่มีหลักฐานหรือการแยกทรัพย์สินอย่างชัดเจน

อนึ่ง มาตรา 1474(3) ยังได้ระบุเพิ่มเติมว่าดอกผลที่เกิดจากสินส่วนตัวเป็นสินสมรส เช่น ดอกเบี้ยหรือรายได้จากทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัว ดังนั้น หากทรัพย์สินที่ได้รับจากมรดกหรือพินัยกรรมเกิดผลประโยชน์ในรูปแบบทรัพย์สิน เช่น ดอกเบี้ย,ปันผล,ลูกของสัตว์หรือผลไม้,ค่าเช่า ก็จะถูกนับเป็นสินสมรสทั้งสิ้น


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 641,735