สิทธิในการเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า

สิทธิในการเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า
เมื่อคู่สมรสหย่าขาดจากกัน สิทธิหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตรและอำนาจปกครองนั้นไม่ได้ถูกเพิกถอนไปด้วย โดย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งของไทยได้กำหนดแนวทางในเรื่องนี้ไว้ ดังนี้
 
1. การใช้อำนาจปกครองบุตร : มาตรา 1520 กำหนดว่า เมื่อหย่ากัน ให้บิดามารดาตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ หรือหย่าโดยคำพิพากษาให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
และ ถ้าปรากฏว่าผู้ใช้อำนาจปกครองประพฤติตนไม่สมควร ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้ ตามมาตรา 1521
ซึ่งอำนาจปกครองนั้น หมายถึง อำนาจปกครองตาม มาตรา 1567 กำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครอง เช่น การกำหนดที่อยู่ของบุตร จัดการศึกษา ทำโทษบุตรตามสมควร ให้บุตรทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานะ เรียกบุตรคืนจากผู้อื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เท่านั้น ส่วนสิทธิอื่น เช่น การเยี่ยมบุตร ไม่ใช่อำนาจปกครอง และไม่สามารถเพิกถอนได้
 
2. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
สิทธิหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตรนั้นไม่ได้ถูกเพิกถอนไปด้วย โดย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1564 กำหนดให้บิดามารดาต้องเลี้ยงดูบุตรในระหว่างเป็นผู้เยาว์ รวมถึงบุตรที่ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตัวเองไม่ได้ด้วย โดยหน้าที่ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับอำนาจปกครอง
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว
 
 
5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 641,735