คดีที่เราฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ดูยังไง

คดีที่เราฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ดูยังไง

ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่นั้น พระราชบัญญัติวิธี พิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551มาตรา 5 ได้กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา 4 ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้กระทำไปก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยนั้น

การขอให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาตามวรรคหนึ่งไม่ว่าโดย คู่ความเป็นผู้ขอหรือโดยศาลเห็นสมควร ถ้าเป็นการขอในคดีผู้บริโภคต้องกระทำอย่างช้าในวันนัดพิจารณา แต่ถ้าเป็นการขอในคดีอื่นต้องกระทำอย่างช้าในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วห้ามไม่ให้มีการขอให้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอีกและเมื่อได้รับคำขอจากศาลชั้นต้นแล้วให้ประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยและแจ้งผลไปยังศาลชั้นต้นโดยเร็ว

ในการขอให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีที่พิจารณาอยู่นั้นเป็นคดีผู้บริโภค หรือไม่ อาจจะเกิดขึ้นได้ 2กรณี
กรณีที่ 1 คู่ความเป็นผู้ขอโดยจะขอในคดีผู้บริโภคหรือคดีอื่นก็ได้
กรณีที่ 2 กรณีที่ศาลเห็นสมควร
ก. การขอในคดีผู้บริโภค จะต้องขออย่างช้าในวันนัดพิจารณา หมายถึง ในวันนัดพิจารณานัดแรกที่ศาลได้หมายนัดมาเพื่อไกล่เกลี่ยให้การและสืบพยานโจทก์ตาม บทบัญญัติมาตรา 24
หากว่าในวันนัดพิจารณานัดแรกเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การหรือสืบพยานโจทก์ได้ มีการเลื่อนการนัดพิจารณาออกไปโดยที่มิได้มีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ มาตรา 24 กำหนดไว้ ก็สามารถร้องขอให้วินิจฉัยในวันนัดพิจารณาใหม่ที่ได้เลื่อนไปได้
ข. การขอในคดีอื่นจะต้องมีการขออย่างช้าในวันชี้สองสถาน หรือวันสืบพยานในกรณีไม่มีการชี้สองสถาน

ระยะเวลาในการยื่นคำขอให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่
1. หากว่าเป็นการขอในคดีผู้บริโภคต้องกระทำอย่างช้าในวันนัดพิจารณา “วันนัดพิจารณา” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ หมายถึงวันที่ศาลได้กำหนดและออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การและสืบพยานตามมาตรา 24

คำวินิจฉัยประธานศาลอุทธรณ์ที่ 322/2556 ศาลแพ่งรับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีผู้บริโภคโดยกำหนดวันนัดพิจารณานัดแรกเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การและสืบพยานวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ในวันนัดดังกล่าวจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง ศาลแพ่งมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยและได้ดำเนินการ ไกล่เกลี่ยคดีซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 25 แต่คู่ความไม่ตกลงกันจึงเลื่อนคดีไปนัดสืบพยาน โจทก์วันที่ 28 สิงหาคม 2556 และสืบพยานจำเลยวันที่ 29 สิงหาคม 2556 เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การว่าคดีโจทก์มิใช่คดีผู้บริโภคและยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยคดี ดังนี้ วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ที่ศาลแพ่งกำหนดเป็นวันนัดพิจารณาและได้ดำเนินกระบวนพิจารณาส่วนที่เกี่ยวกับการให้การแก้คดีและการไกล่เกลี่ยคดีแล้วจึงเป็นวันนัดพิจารณาตามที่กำหนดในมาตรา 8 วรรคสอง หากมีกรณีต้องขอให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ก็ต้องกระทำในวันดังกล่าว การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยคดีเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2556 จึงเป็นการขอให้วินิจฉัยคดีเมื่อล่วงเลยระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย และถึงแม้ว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเข้ามา

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 644,038