ผู้ค้ำประกันที่มิได้กระทำเพื่อการค้า ย่อมถือว่าเป็นผู้บริโภคด้วย
ผู้ค้ำประกันที่มิได้กระทำเพื่อการค้า ย่อมถือว่าเป็นผู้บริโภคด้วย
หากมีการฟ้องผู้ค้ำประกันเป็นจำเลย เจ้าหนี้จะต้องฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๗๓๗/๒๕๕๙ เมื่อพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดี ผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 มิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ผู้บริโภคหมายความถึงเฉพาะ บุคคลที่เป็นผู้บริโภคในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เท่านั้น ทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 35 ทวิ ก็ให้อำนาจ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา มีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการที่ กฎหมายกำหนดให้ทำหนังสือสัญญาเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาซึ่งคณะกรรมการว่าด้วย สัญญาได้ออกประกาศในเรื่องให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็น ธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2544 ข้อ 3 (7) และเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2544 ข้อ 3 (4) ที่กำหนดไว้ทำนองเดียวกันว่า สัญญาทั้งสองประเภทที่กำหนดให้ผู้กู้หรือผู้เช่าซื้อต้องจัดหาผู้ค้ำประกัน สัญญาค้ำประกัน ต้องมีคำเตือนสำหรับผู้ค้ำประกันไว้ โดยคำเตือนต้องมีขนาดตัวอักษรและข้อความตามที่ถูกกำหนดไว้หรือตามข้อ 9 ในประกาศเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ฯ ที่กำหนดว่าก่อนที่ผู้ให้เช่าซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ถ้าผู้ค้ำประกันมี ความประสงค์ต้องให้สิทธิผู้ค้ำประกันเป็นผู้เช่าซื้อต่อไป ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ แสดงให้เห็นความประสงค์ว่ามุ่งจะคุ้มครองผู้ค้ำประกันด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามีกฎหมายอื่นบางฉบับที่มีลักษณะเป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
มาตรา 3 ให้ความหมายของคำว่า “ผู้บริโภค” ให้ความหมายรวมถึงผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้กระทำเพื่อการค้าด้วย
ประกอบกับยังมีพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มาตรา 39 ที่บัญญัติคุ้มครองไปถึงผู้ค้ำประกันในการเข้าทำสัญญาเพื่อผูกพันตนร่วมรับผิดกับลูกหนี้ชั้นนต้นที่เป็นผู้บริโภคด้วย จึงย่อมเป็นที่เห็นได้โดยประจักษ์ว่า ผู้อยู่ในฐานะผู้บริโภคไม่ว่า ตามบทกฎหมายฉบับใดที่มีลักษณะหรือเจตนารมณ์ในการคุ้มครองผู้บริโภคย่อมบัญญัติไว้ อยู่ในความหมายของคำว่า “ผู้บริโภค” ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39 ทั้งสิ้น ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะผู้บริโภคตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เท่านั้น ประกอบกับจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ ถือเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในหนี้ประธาน จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อถือเป็นลูกหนี้ชั้นรองในหนี้อุปกรณ์ ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะมีหรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามสัญญาค้ำประกันและความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ ในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ใน สัญญาค้ำประกันมีข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับผู้เช่าซื้อต่อผู้ให้เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ทำให้หนี้ของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์เป็นหนี้เกี่ยวพันที่ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ ทั้งย่อมอาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการให้จำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าและบริการจากโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ให้เช่าซื้อ หากไม่มีผู้ค้ำประกัน การมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงเป็นไปตามความต้องการของโจทก์และ เพื่อประโยชน์ของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในหนี้ประธานเป็นผู้บริโภค ทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์บางประการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน การเช่าซื้อก็ควรได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้บริโภคตามความหมายของคำว่า “ผู้บริโภค” แห่งพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นที่จำเลยที่ 2 ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ย่อมเป็นการฟ้องคดีต่อศาลที่ผู้บริโภคคนหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแล้ว และเมื่อหนี้ของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์เป็นเรื่องการเช่าซื้อ การค้ำประกันมูลความแห่งคดีย่อมเกี่ยวข้องกัน โจทก์ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีเดียวกันต่อศาลชั้นต้นนี้ได้ ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณา คดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 17 และมาตรา 7 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments