ค่าเสียหายเชิงลงโทษพิจารณาจากหลักเกณฑ์ใด

ค่าเสียหายเชิงลงโทษพิจารณาจากหลักเกณฑ์ใด

ในการที่ศาลจะกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษได้นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงเหล่านี้เพิ่มเติมจากข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดข้อเท็จจริงที่เพิ่มเติมขึ้น ได้แก่

ก. ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม
ข. ผู้ประกอบธุรกิจจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย
ค. ผู้ประกอบธุรกิจประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค
ง. การกระทำของผู้ประกอบธุรกิจเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มี อาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน

หากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการกระทำละเมิดของจำเลยได้มีเหตุอย่างใดอย่างตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่ผู้เสียหายไม่ได้ การกำหนดค่าเสียหาย เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภค ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการ ลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริง ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยศาลจะต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษานั้น

บทบัญญัติในมาตรานี้ให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจพิจารณาและ กำหนดไว้เป็นการเฉพาะโดยโจทก์มิต้องกล่าวไว้ในคำฟ้องและไม่จำต้องขอมาท้ายคำฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 1865/2561 “…พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 มีวัตถุประสงค์ให้ศาลพิจารณาลงโทษผู้ประกอบธุรกิจที่กระทำละเมิดในทางแพ่งที่มีพฤติการณ์รุนแรงหรือมีความร้ายแรงเกินปกติ กล่าวคือ จงใจกระทำการซึ่งรู้อยู่แล้วว่า การกระทำที่ก่อขึ้นนั้นเป็นความผิดโดยมิได้เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง อันมีลักษณะไม่แตกต่างจากการกระทำผิดในคดีอาญา จึงต้องใช้วิธีกำหนด ค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้เข็ดหลาบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องปรามผู้ประกอบธุรกิจนั้นมิให้ กระทำการดังกล่าวขึ้นอีก โดยมีความมุ่งหมายอยู่ในตัวเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นยึดถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างด้วย การกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษนั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจพิจารณาและกำหนดเป็นการเฉพาะ โดยโจทก์มิต้องกล่าวไว้ในคำฟ้องและไม่จำต้องมีคำขอมาท้ายฟ้อง อีกทั้งไม่ถือเป็นทุนทรัพย์ใช้คำนวณค่าขึ้นศาลในขณะยื่นฟ้องคดีตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษในกรณีนี้จึงมิใช่หนี้เงินในขณะยื่นฟ้องที่จะนำมาคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ศาลจะนำมาประกอบการกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษ เช่น

ก. ความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับ
ข. ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ
ค. สถานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ
ง. การที่ผู้ประกอบธุรกิจได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น
จ. การที่ผู้บริโภคมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย

การคำนวนค่าเสียหายเชิงลงโทษ

ตามบทบัญญัติมาตรา 42 วรรคสอง ได้กำหนดจำกัดขอบเขตในการที่ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (cap of punitive damages) ว่าสามารถกำหนดได้ เพียงใด ซึ่งในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนี้ได้กำหนดขอบเขตไว้ สามารถแยกพิจารณาจำนวนค่าเสียหายเพื่อการลงโทษที่ศาลจะกำหนดโดยแยกพิจารณาตามค่าเสียหายที่แท้จริงตามที่ศาลกำหนดออกได้ดังนี้

ก. กรณีที่กำหนดค่าเสียหายที่แท้จริงเกิน 50,000 บาท ศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษได้ไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง เช่น ศาลกำหนด ค่าเสียหายที่แท้จริงจำนวน 200,000 บาท ศาลก็สามารถกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ ได้ไม่เกิน 400,000 บาท

ข. ค่าเสียหายที่แท้จริงไม่เกิน 50,000 บาท ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกิน 5 เท่า เช่น ศาลกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นเงิน 40,000 บาท ศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษได้ไม่เกิน 200,000 บาท


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 #ทนายใกล้ตัว,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 647,862