ค่าเสียหายเชิงลงโทษ (punitive damages) ในคดีผู้บริโภค คืออะไร

ค่าเสียหายเชิงลงโทษ (punitive damages) ในคดีผู้บริโภค คืออะไร
 
การกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษในคดีผู้บริโภค ศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายได้ 2 ประเภท คือ
 
1) ค่าเสียหายที่แท้จริง (Compensatory Damage) เป็นจำนวนค่าเสียหายที่กำหนดทดแทนความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับอย่างแท้จริง (out of pocket losses) อันเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งอาจเป็นค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปแล้ว (medical bill) หรือเป็นค่ารักษาพยาบาลในอนาคต (future medical expense) การเสียรายได้จากการประกอบการงาน (loss of income)
 
2) ค่าเสียหายเชิงลงโทษ (punitive damage) เป็นค่าเสียหายที่กำหนดมาเพื่อการลงโทษจำเลย เนื่องจากจำเลยได้กระทำโดยจงใจ หรืออย่างไม่ระมัดระวังไตร่ตรอง
 
ความหมาย ค่าเสียหายเชิงลงโทษ (punitive or exemplary damages) หมายถึงค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน (money damages) ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระแก่ผู้เสียหายในคดีแพ่ง นอกเหนือไปจากค่าเสียหายที่แท้จริง (compensatory damage) เพื่อเป็นการลงโทษจำเลยโดยในการที่ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษนี้ ศาลจะประเมินจากการที่จำเลยกระทำโดยมิชอบ
 
มูลเหตุในการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ การกำหนดค่าเสียหายในเชิง ลงโทษมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 2ประการ กล่าวคือ
 
(1) เพื่อลงโทษจำเลย (punishment) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่กระทำโดยมิชอบ
(2) เพื่อเป็นการป้องกัน ยับยั้ง (deterence) การกระทำของจำเลย หรือ ผู้ประกอบธุรกิจในลักษณะทำนองเดียวกัน (similar misbehaving) มิให้กระทำต่อไป อันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่สาธารณะ
 
ลักษณะค่าเสียหายเชิงลงโทษ เป็นการกำหนดค่าเสียหายที่นอกเหนือไปจากค่าเสียหายที่แท้จริง แต่ศาลได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระค่าเสียหายดังกล่าวเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ กรณีที่ศาลจะกำหนดให้มีการชำระค่าเสียหายในเชิงลงโทษได้นั้น ก็ต่อเมื่อปรากฏว่าในคดีที่ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ หากว่ามีเหตุต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ศาลก็มีดุลพินิจที่จะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษได้ตามกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้
 
มาตรา 42 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 “ ถ้าการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจ กระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับ
 
ความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิด แก่ผู้บริโภคหรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบ ในฐานะผู้มี อาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภค ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจ จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด ได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น ความเสียหาย ที่ผู้บริโภคได้รับ ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ สถานะทางการเงินของ ผู้ประกอบธุรกิจ การที่ผู้ประกอบธุรกิจได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดจน การที่ผู้บริโภคมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย “
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว
5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 650,672