การแบ่งแยกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในสถานประกอบกิจการทำได้หรือไม่
การแบ่งแยกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในสถานประกอบกิจการทำได้หรือไม่
ในเบื้องต้นต้องแยกแยะให้ได้ก่อนว่า สถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ๆ มี “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง” หรือไม่ ซึ่งสามารถสังเกตง่ายๆ คือ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องจะต้องมี “การจดทะเบียน” ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 18
ส่วน “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง” นั้นมีอยู่ในสถานประกอบกิจการทุกแห่งโดยสภาพอยู่แล้ว เช่น ข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงาน ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ข้อตกลงที่เกิดด้วยความยินยอม ของลูกจ้าง เงื่อนไขในสัญญาจ้างแรงงานเฉพาะบุคคล หรือสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยจารีตประเพณีหรือโดยปริยาย เป็นต้น
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอาจเป็นเงื่อนไขระหว่างเจ้านายและลูกจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนหรือเฉพาะลูกจ้างบางรายก็ได้ กล่าวคือ ลูกจ้างจะได้รับสภาพการ้างเหมือนกัน แต่ยางส่วนที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉพาะราย ซึ่งสอดคล้องกับสัญญาจ้างแรงงานของลูกจ้างนั้น ๆ เช่น ค่าจ้าง ตำแหน่ง สิทธิประโยชน์ สวัสดิการบางอย่าง อาจมีความแตกต่างกันได้
ส่วนใหญ่ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวนมากอาจจะมีการจัดทำ "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง" ตามมาตรา 13 หรือ มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ด้วย ซึ่งเป็น "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง"กล่าวอีกนัยหนึ่ง บางสถานประกอบกิจการจะไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการ จ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง
สถานประกอบกิจการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเอกชน อาทิ ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หากเป็นสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่มีลูกจ้างจำนวนมาก เช่น มีลูกจ้างตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นคน สถานประกอบกิจการเหล่านี้ อาจมีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง ตามมาตรา 13 หรือ มาตรา 15 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ได้
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง " ที่จัดทำขึ้นในสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่มักเกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องโดยสหภาพแรงงานตามมาตรา 15 มากกว่า เพราะสหภาพแรงงานมีเสถียรภาพมากกว่าในการแจ้งข้อเรียกร้องและจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
ส่วนสถานประกอบกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and Medium Enterprise: SMEs) ซึ่งอาจมีลูกจ้างตั้งแต่ 2-3 คน ไปจนถึง 40-50 คน หรือเป็นกิจการในครอบครัว หรือ Startup ซึ่งโดยสภาพจะมีลูกจ้างไม่มากนักก็มักจะไม่มีสหภาพแรงงาน แม้ลูกจ้างสามารถรวมตัวกันแจ้งข้อเรียก ร้องได้ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ 2518 แต่ในทางปฏิบัติก็มิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องและจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการ จ้างมากนัก ด้วยเหตุที่ขนาดของสถานประกอบกิจการนั้นมีจำนวนลูกจ้างไม่มากนั่นเอง การบริหารแรงงานสัมพันธ์จึงไม่ซับซ้อนเท่าสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ ดังนั้น สถานประกอบกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางอาจจะไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องก็ได้
ด้วยเหตุนี้ สถานประกอบกิจการหนึ่ง ๆ อาจมีการจัดทำ "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง" หรือไม่มีก็ได้ หากไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง ก็ยังคงมี "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง" ได้
ทั้งนี้ ความแตกต่างระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้ง ข้อเรียกร้อง มี 5 ประการ ดังนี้ "
1. ระยะเวลาใช้บังคับ
2. การจดทะเบียนและการปิดประกาศ
3. สิทธิในการใช้มาตรการแรงงานสัมพันธ์
4. การคุ้มครองลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการจ้างข้อเรียกร้อง
5. ผลของการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments