หลักเกณฑ์ในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ กรณีศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว

หลักเกณฑ์ในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ กรณีศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว
๑) คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาหากศาลพิพากษาให้แพ้คดีมีสิทธิขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา๒๐๗ ซึ่งให้นำบทบัญญัติมาตรา๑๙๙ ตรี มาตรา ๑๙๙ จัตวาและ มาตรา ๑๙๙ เบญจ เกี่ยวกับการขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยคู่ความผู้ขอจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) คู่ความที่ขอให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องไม่ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ให้ตนแพ้คดี
(๒) คู่ความที่ขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นจะต้องไม่เข้าข้อห้ามตามมาตรา๑๙๙ ตรี (๑)
หรือ (๒) ได้แก่

๑. ศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่มาครั้งหนึ่งแล้ว คือคู่ความที่ขาดนัดพิจารณาศาลพิพากษาให้
แพ้คดีคู่ความนั้นขออนุญาตพิจารณาคดีใหม่ ศาลอนุญาต แต่คู่ความดังกล่าวกลับขาดนัดอีก เมื่อศาลพิพากษาให้แพ้คดีเป็นครั้งที่สอง คู่ความนั้นจะขอให้พิจารณาคดีใหม่อีกไม่ได้ไม่ว่าจะมิได้จงใจขาดนัด หรือกรณีมีเหตุสมควรก็ตาม

๒. คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ต้องห้ามตามกฎหมาย (มาตรา๑๙๙ ตรี (๒) ได้แก่ คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาที่เข้าเหตุตามมาตรา๒๐๖ วรรคสี่ ได้แก่
(๑)คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาและไม่ได้แจ้งต่อศาลว่า ตนประสงค์จะดำเนินคดี
(๒) คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาและเคยขอพิจารณาคดีใหม่ แต่ศาลเห็นว่าการขาด
นัดเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควร
(๓) คู่ความที่เคยขาดนัดพิจารณาและเคยขอพิจารณาคดีใหม่ระหว่างการพิจารณา
คดีฝ่ายเดียวมาแล้ว เมื่อศาลอนุญาต กลับขาดนัดพิจารณาอีก
๒) คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา๒๐๗ ต้องบรรยายให้ครบถ้วนตามมาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคสอง คือ (๑) แสดงเหตุที่คู่ความได้ขาดนัด (๒) ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลและแสดงให้เห็นว่า หากพิจารณาคดีนั้นใหม่ตนจะชนะคดีได้อย่างไร (๓) หากจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ล่าช้าอันเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องกล่าวถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ามาด้วย
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ที่ไม่ชอบด้วยมาตรา๑๙๙ จัตวา วรรคสอง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่
เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ (ฎ๒๑๕๐/๒๕๑๕ และ๙๒๕๒๕๒๖)
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่สามารถแก้ไขได้ แต่จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมก่อนศาลยกคำร้องฉบับเดิม หากศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไปแล้ว ศาลไม่จำต้องสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอีก (เทียบ ก.๑๕๘๗/๒๕๔๒)
๓) คำร้องนั้นต้องยื่นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคหนึ่ง คือ

(๑) ต้องยื่นภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่คู่ความที่ขาดนัด

(๒) ต้องยื่นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ศาลได้กำหนดการอย่างใด เพื่อให้การส่งคำบังคับ มีผล เช่น ศาลอาจจะสั่งว่าคู่ความที่ขาดนัดไม่อยู่ในราชอาณาจักร ในขณะที่มีการปิดคำบังคับ จึงให้การปิดคำบังคับนี้มีผลเมื่อระยะเวลา๖o วัน ได้ล่วงพ้นไป

(๓) ต้องยื่นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่มีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง

(๔) แต่คู่ความที่ขาดนัดจะยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่หลัง ๖ เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ เช่น
จำเลยยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด๖ เดือน นับแต่วันยึดทรัพย์ แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เกิดขึ้นจนเกิน๖ เดือน จำเลยก็หามีสิทธิที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ไม่(ฎ.๒๕๒๐/๒๕๓๒)

กรณีที่มีจำเลยหลายคน กำหนดเวลา๖ เดือน นับแต่วันที่ถูกยึดทรัพย์ หมายถึงเฉพาะจำเลยคนที่ถูกยึดทรัพย์เท่านั้น (ฎ.๒๑๕๒/๒๕๓๖)
กรณีที่ไม่มีการยึดทรัพย์ ให้นับ ๖ เดือน นับแต่วันที่มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น เช่น ภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่โจทก์นำคำพิพากษาของศาลไปเปลี่ยนแปลง ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์นำคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนสมรส (ฎ.๑๓๓๐/๒๕๓๘)


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 641,735