หลักสำคัญเมื่อผู้เยาว์ฟ้องคดีด้วยตนเอง

หลักสำคัญเมื่อผู้เยาว์ฟ้องคดีด้วยตนเอง

๑. กรณีผู้เยาว์เป็นโจทก์

๑. ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้ว จึงปรากฏข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถขึ้น ศาลจะยกฟ้องไม่ได้ ต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องนั้นตามมาตรา ๕๖ (.๑๑๙๐/๒๒๔๙๕)

๒. ถ้าปรากฏในศาลสูง ศาลสูงย่อมสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถนั้น ในชั้น พิจารณาของศาลสูงตามมาตรา ๕๖ จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาขอให้ยกฟ้องเพราะเหตุบกพร่องในเรื่องความสามารถไม่ได้ เพราะไม่ได้เป็นประเด็นมาแต่ศาลชั้นต้น (D.๑๓๕๕/๒๕๐๔ และ๑๕๒๔/๒๕๐๘

๓. ในกรณีผู้เยาว์มีผู้แทนโดยชอบธรรม ต้องระบุด้วยว่า ใครเป็นผู้แทนชอบธรรม

๔. เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาให้ฟ้องและดำเนินคดีแล้ว ก็มีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนได้ หาจำต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีกครั้งไม่ (ฎ.๕๕๒๗/๒๕๔๑)


๒. กรณีขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดี

ถ้ามีผู้ฟ้องคดีแทนผู้เยาว์เพราะผู้เยาวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้และมีเหตุฉุกเฉินรอให้ศาลตั้งให้ไม่ทัน ผู้ปกครองโดยพฤตินัยอาจยื่นคำร้องขอให้ศาล

ตั้งตนเป็นผู้แทนเฉพาะคดีพร้อมกับคำฟ้อง (หรือคำให้การ) ตามมาตรา๔๕ และ ๕๖ ก็ได้ ศาลจะสอบถามจำเลย (หรือโจทก์ กรณีโจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง) ว่าจะคัดค้านหรือไม่

๑. ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่คัดด้านและไม่มีเหตุควรสงสัย ศาลจะอนุญาตโดยไม่สั่งไต่สวนก็ได้

๒. เมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้ว จึงจะตรวจและสั่งคำฟ้อง (หรือคำให้การ) ต่อไป

๓. กรณีผู้เยาว์ถูกฟ้อง แต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ยอมเข้าดำเนินคดีแทน

กรณีผู้เยาว์ถูกฟ้อง ศาลดำเนินคดีไป ต่อมาปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยเป็นผู้เยาว์ ศาลสอบถาม ผู้แทนโดยชอบธรรมแล้วแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ยอมดำเนินคดีแทน และไม่ให้ความยินยอมศาลจะสั่งให้ผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทนไม่ได้ จะต้องรอคดีไว้ก่อนและแจ้งให้ญาติของผู้เยาว์

หรืออัยการร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองตาม ป.พ.พ. มาตรา๑๕๘๒ เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว ศาลจึงจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีได้ จะใช้บทบัญญัติมาตรา ๕๖ ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีไปก่อนไม่ได้(ฎ.๑๒๑๕/ ๒๕๙๒)

ข้อสังเกต

(๑) ตาม ป.พ.พ. มาตรา๑๕๘๒ ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจสั่งถอนอำนาจปกครองได้ศาลอาจใช้อำนาจถอนอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมเพียงบางส่วนเฉพาะที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีแล้วตั้งผู้แทนเฉพาะคดีให้ผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการดำเนินคดีตามมาตรา๕๖ ก็ได้

 (๒) คดีละเมิดมิใช่คดีครอบครัวที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวซึ่งจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ.ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐ (๓) แห่งพ.ร.บ. ศาลเยาวชนฯ ดังนั้น เมื่อมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับเรื่องความสามารถของโจทก์บางคนซึ่งเป็น ผู้เยาว์ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่อง โดยตั้งผู้แทนเฉพาะคดีให้ได้ตามมาตรา๕๖ วรรค สุดท้าย โดยไม่จำเป็นต้องขออำนาจในการดำเนินคดีจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ฎ.๗๑๙๕/๒๕๓๕)

๔. กรณีผู้เยาว์ถูกฟ้องและขอดำเนินคดีเอง

จำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์อ้างว่า ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม จึงขออนุญาตศาลดำเนินคดีด้วยตนเองตามมาตรา ๕๖ ถ้าศาลเห็นควรหรือไม่ควรอนุญาต

จำเลยหลายคนยื่นคำให้การรวมกันมาในฉบับเดียวกัน เมื่อจำเลยบางคนเป็นผู้เยาว์ ศาลจะ สั่งรับคำให้การจำเลยที่ไม่เป็นผู้เยาว์ ส่วนจำเลยที่เป็นผู้เยาว์ ศาลจะนัดพร้อมเพื่อสอบและสั่งในเรื่องความสามารถ

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 638,187