หากยกที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะเกิดผลอย่างไร

หากยกที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะเกิดผลอย่างไร
 
(๑) โอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๑๓๐๕)
(๒) ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้ (มาตรา ๑๓๐๖)
(๓) ยึดเพื่อการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลมิได้ (มาตรา ๑๓๐๗)
 
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๐/๒๕๑๐ รับซื้อที่ดินที่เจ้าของเดิมได้อุทิศบางส่วนให้ เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปโดยปริยายแล้ว แม้ที่ดินส่วนนั้นจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินที รับซื้อไว้ ผู้ซื้อที่ดินนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือเอาเป็นของตนได้ และแม้จะมีผู้ทำหลังคาและ คนนั้น ชายคารุกล้ำที่ดินส่วนนั้น ผู้ซื้อที่ดินก็ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องให้ตัดหลังคาและ ชายคาได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๗๗ - ๑๓๗๘/๒๕๓๖ วินิจฉัยในแนวเดียวกัน)
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๕๕/๒๕๕๕ มรดกของผู้ไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับ พินัยกรรมตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๕๓ และถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
 
ข้อสังเกต
(๑) บุคคลผู้ซื้อที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสุจริตในการขาย ทอดตลาด ตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา ๑๓๓๐ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๗๐/๒๕๔๓)
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๔๒/๒๕๐๖ ที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของ แผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น ถ้ามีผู้เข้ามากั้นรั้วปลูกบ้านและสิ่งอื่นกีดขวาง หน้าที่ดินของเจ้าของที่ดินติดกับชายตลิ่งเต็มหมดจนเข้าสู่แม่น้ำไม่ได้แล้ว ย่อมถือว่า เจ้าของที่ดินได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ มีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๘/๒๕๑๐ บ่อน้ำที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ ร่วมกัน โจทก์ใช้บ่อน้ำบ่อนี้เสมอมาจำเป็นแก่ความเป็นอยู่ของโจทก์ เมื่อจำเลยกระทำ การให้น้ำในบ่อไม่มีให้โจทก์ใช้เช่นเคย ถือได้ว่าโจทก์เสียหายเป็นพิเศษ มีอำนาจฟ้อง จำเลยได้
(๒) ตามมาตรา ๑๓๐๗ สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ห้ามยึดนั้น แม้ขณะยึด จะไม่ทราบว่าเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินก็ไม่ทำให้การยึดนั้นมีผลยันต่อแผ่นดินได้ การยึดทรัพย์เช่นว่านี้จึงไม่มีผลตามกฎหมายแต่ประการใด
 
(๓) ตามมาตรา ๑๓๐๖ ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินไม่ได้ เช่น คูเมือง ซึ่งราชการดูแลอยู่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์เข้าครอบครองใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๒๔/๒๕๒๐ (ประชุมใหญ่) ที่ดินเวนคืนมาเพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นที่ดินที่กลับมาเป็นของรัฐตามกฎหมายที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม มาตรา ๑๓๐๔ (๑) จำเลยจะอ้างอายุความได้ภาระจำยอมเดินผ่านไม่ได้ (คำพิพากษา ฎีกาที่ ๑๓๕๓/๒๕๒๑) ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ประชาชนใช้ร่วมกัน แม้ว่าจำเลยจะครอบครองต่อเนื่องติดต่อกันนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง (คำพิพากษา ฎีกาที่ ๑๗๖๓/๒๕๕๕)
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว
5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 639,855