เดิมมีสิทธิใช้ “ทางจำเป็น” แต่ต่อมามีทางออกทางอื่นไปถึงทางสาธารณะได้ แม้การใช้ทางจำเป็นมีความสะดวกกว่า เจ้าของที่ดินที่ให้ใช้ทางจำเป็นมีสิทธิขอให้ยกเลิกได้

เดิมมีสิทธิใช้ “ทางจำเป็น” แต่ต่อมามีทางออกทางอื่นไปถึงทางสาธารณะได้ แม้การใช้ทางจำเป็นมีความสะดวกกว่า เจ้าของที่ดินที่ให้ใช้ทางจำเป็นมีสิทธิขอให้ยกเลิกได้ คำว่า "ทางจำเป็น" ไม่มีคำนิยามอย่างเช่นกับคำว่า "ทางสาธารณะ" แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 บัญญัติว่า "ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทาง สาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ ทางสาธารณะได้ “ทางจำเป็น” จึงหมายถึง ที่ดินที่ถูกล้อมด้วยที่ดิน แปลงอื่นอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ หรือมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ไม่สะดวก เช่น จะต้อง ข้ามบึง ทะเล หรือที่ลาดชันอันระดับที่ดินกับทาง สาธารณะสูงกว่ากันมาก กฎหมายจึงให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อม ให้มีสิทธิผ่านที่ดินแปลงอื่นซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ หากต่อมาที่ดินแปลงดังกล่าวนั้น มีทางออกอื่นไปถึงทางสาธารณะได้ ความจำเป็นในการใช้ทางจำเป็นก็ไม่ต้องมีอีกต่อไป ข้อจำกัดทรัพยสิทธิเกี่ยวกับทางจำเป็นก็ย่อมหมดไปด้วย ส่วนที่บอกว่าทางจำเป็นมีความสะดวกในการเดินทางมากกว่านั้นก็ไม่อาจใช้เป็นข้ออ้างเพื่อให้ทางจำเป็นยังคงเป็นทางจำเป็นตลอดไป ดังนั้น เจ้าของที่ดินที่ให้ใช้ทางจำเป็นจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ยกเลิกทางจำเป็นได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 579/2562 กรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงใดจะขอผ่านที่ดินแปลงอื่นเพื่อเป็นทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่ที่ดินแปลงนั้นไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เดิมจำเลยทั้งห้าฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสามให้เปิดทางจำเป็นเพื่อใช้เป็นทางผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะ โดยอ้างว่าที่ดินของจำเลยทั้งห้าให้ถูกที่ดินของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสามและที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ดังนี้ จำเลยทั้งห้าจึงมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง แต่หากต่อมาที่ดินแปลงดังกล่าวนั้น มีทางออกอื่นไปถึงทางสาธารณะได้ ความจำเป็นในการใช้ทางจำเป็นก็ไม่ต้องมีอีกต่อไป ข้อจำกัดทรัพยสิทธิเกี่ยวกับทางจำเป็นก็ย่อมหมดไปด้วย เมื่อปรากฏว่าสะพานคอนกรีตข้ามคลองตาคตที่เชื่อมต่อที่ดินของจำเลยทั้งให้กับถนนลาดยางเลียบคลองตาคตนั้นเป็นถนนสาธารณะมีความกว้างถึง 6 เมตร กรณีย่อมฟังได้ว่าปัจจุบันที่ดินของจำเลยทั้งห้ามีทางออกอื่นไปถึงทางสาธารณะแล้วจำเลยทั้งห้าย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสามเป็นทางจำเป็นเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะตามกฎหมาย ส่วนที่จำเลยทั้งห้านำสืบว่าทางพิพาทมีความสะดวกในการเดินทางมากกว่านั้นก็มิอาจใช้เป็นข้ออ้างเพื่อให้ทางพิพาทยังคงเป็นทางจำเป็นตลอดไป ทั้งที่เหตุแห่งการได้มาซึ่งทางจำเป็นตามกฎหมายของจำเลยทั้งหมดสิ้นไปแล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ยกเลิกทางจำเป็นได้ มาตรา 1349 ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้ ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,☎️ 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU www.closelawyer.co.th


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,790