สามีกู้ยืมเงินมาเพื่อซ่อมแซมบ้าน แม้ภรรยามิได้เซ็นยินยอมหรือค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้นั้น
กรณีที่สามีหรือภรรยาต้องร่วมกันรับผิดในมูลหนี้นั้นหากฝ่ายเจ้าหนี้พิสูจน์ได้ว่าหนี้ดังกล่าวกู้ยืมมาเพื่อประโยชน์ในครอบครัวหรือกู้มาเพื่อใช้สอยต่อเติมบ้านซึ่งได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยา
แม้จะเซ็นเพียงสามีหรือภรรยา จะรู้หรือไม่รู้ก็ย่อมต้องร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าว
ตัวอย่าง นาย
ก แต่งงานจดทะเบียนสมรสกับนาง ข
ต่อมาได้ไปกู้ยืมเงินเพื่อมาต่อเติมบ้านชั้นสองของทั้งคู่ กับ นาย ค เจ้าหนี้
และในการกู้ยืมเงินครั้งนี้ นาย ก
ได้ลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวไม่ปรากฏลายมือชื่อของนาง ข แต่อย่างใด ต่อมานาย ก
ผิดนัดชำระหนี้ทวงถามไปอย่างไรก็นิ่งเฉย และนาย ก
ได้โยกย้ายทรัพย์สินไปเป็นชื่อของนาง ข ทั้งหมดแล้ว
ดังนั้นนาย ค
ชอบที่จะฟ้องร้องต่อนาย ก และ นาง ข
เนื่องจากเหตุที่กู้ยืมกันมานั้นเพื่อต่อเติมทรัพย์สินอันเป็นที่อยู่ของทั้งสอง
ถือเป็นเงินที่ใช้จ่ายระหว่างคู่สมรสย่อมฟ้องร้องให้นาง ข ร่วมรับผิดได้
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกา 2734/2545 จำเลยที่ 1 นำเงินที่กู้มาได้ไปใช้ในการซ่อมแซมบ้านป้า เพราะป้าดูแลจำเลยที่ 1มาตั้งแต่เล็กรวมทั้งดูแลบุตรของจำเลยที่ 1 ด้วย การนำเงินกู้ไปซ่อมแซมบ้านของป้าก็เพื่อประโยชน์และความผาสุกของบุตรทั้งสามคนของจำเลยทั้งสอง กรณีจึงเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1) จึงเป็นหนี้ร่วมที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีต้องร่วมรับผิดด้วย
มาตรา 1490
หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส
ดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว
การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments