สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปกู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว แม้อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมก็ต้องรับผิดในหนี้นั้นด้วย
การที่สามีหรือภรรยาไปทำการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว
แต่ทรัพย์สินทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของผู้กู้ มีปัญหาว่าหากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้
ผู้ให้กู้ย่อมฟ้องร้องคู่สมรสให้ร่วมกันชำระหนี้ได้และสามีภรรยานั้นต้องจดทะเบียนสมรสต่อกัน
ตัวอย่าง
นาย ก จดทะเบียนสมรสกับ นาง ข
ต้องการที่จะทำการต่อเติมซ่อมแซมบ้านแต่ยังขาดเงินอยู่กว่า 200,000
บาท นาย ก จึงได้ไปติดต่อ นาย ด
เพื่อทำการกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวเมื่อทำสัญญาลงลายมือชื่อเรียบร้อยระบุว่า นาย ก
ต้องการนำเงินไปต่อเติมซ่อมแซมบ้าน ต่อมาเมื่อ นาย ก
ผิดนัดชำระหนี้และทรัพย์สินทั้งหมดเป็นชื่อของ นาง ข กรณีดังกล่าว นาย ด
สามารถฟ้องทั้งนาย ก และ นาง ข เป็นจำเลยให้ร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวได้
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่
2734/2545 จำเลยที่ 1
นำเงินที่กู้มาได้ไปใช้ในการซ่อมแซมบ้านป้า เพราะป้าดูแลจำเลยที่ 1มาตั้งแต่เล็กรวมทั้งดูแลบุตรของจำเลยที่ 1 ด้วย
การนำเงินกู้ไปซ่อมแซมบ้านของป้าก็เพื่อประโยชน์และความผาสุกของบุตรทั้งสามคนของจำเลยทั้งสอง
กรณีจึงเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1)จึงเป็นหนี้ร่วมที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีต้องร่วมรับผิดด้วย
มาตรา 1490
หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส
ดังต่อไปนี้ (1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว
การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments