เหตุรอการลงโทษคดีอาญานั้นเป็นดุลพินิจของศาล แม้เป็นคดีหมิ่นประมาทกระทำผิดครั้งแรกและจ่ายค่าเสียหายก็อาจเข้าคุกได้

เหตุรอการลงโทษคดีอาญานั้นเป็นดุลพินิจของศาล แม้เป็นคดีหมิ่นประมาทกระทำผิดครั้งแรกและจ่ายค่าเสียหายก็อาจเข้าคุกได้

          บทความนี้เรามาพูดถึงเรื่องเหตุการณ์รอการลงโทษทางคดีอาญากันนะครับว่าหากความผิดที่กฎหมายบัญญัติหรือลงโทษไม่เกิน 5 ปีนั้น เหตุไหนที่ศาลจะพิจารณาพิพากษารอการลงโทษก็ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะเมตตาและเห็นสมควรให้มีการรอลงโทษหรือไม่ พฤติการณ์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งผมขอพูดปัจจัยหนึ่งแล้วกันครับว่า หากมีการสำนึกผิดจากผู้กระทำความผิด เจตนาที่จะเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับเสียหายหรือถูกกระทำ หรือพฤติการณ์อื่นใดที่แสดงถึงว่าเราได้สำนึกผิดกลับตัวกลับใจ ต่อการกระทำของเราแล้ว เช่น จ่ายค่าเยียวยาผู้เสียหาย ไปเยี่ยมเยียนแสดงความจริงใจ บำเพ็ญประโยชน์ จิตอาสาช่วยเหลือสังคม เป็นต้น ก็อาจจะเป็นเหตุให้ศาลเห็นใจเมตตา รอการลงโทษได้

          แต่หากจำเลยมีท่าทางที่ไม่เกิดความสำนึก ไม่เห็นใจผู้เสียหายหรือไม่สนใจว่าผู้เสียหายจะเป็นยังไง หากสุดท้ายแล้วศาลตัดสินว่ามีความผิดจริงก็ไม่มีเหตุให้ศาลต้องเมตตา หรือกรณีที่มีโทษจำคุกหรือรวมกันแล้วเกิน 5 ปี ตามกฎหมายแล้วไม่สามารถที่จะรอการลงโทษได้และเหตุอื่นๆ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56

          ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคดีที่มีโทษน้อยหรือจำคุกไม่เกิน 5 ปีนั้น ไม่ว่าความผิดใดศาลก็มีสิทธิ์ที่จะตัดสินให้รับโทษจำคุกได้ตามดุลพินิจของศาล

          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2563 ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษนั้น เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดโดยการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามด้วยการโฆษณาลงในระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เป็นการกระทำที่ไม่คำนึกถึงความเสียหายที่โจทก์ร่วมจะได้รับ อาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดว่า โจทก์ร่วมและบุตรสาวเป็นคนไม่ดี ขายบริการทางเพศซึ่งไม่เป็นความจริง พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องที่ร้ายแรง แม้จะปรากฏว่าจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน หรือได้ชดใช้ค่าเสียหายแก้โจทก์ร่วมไปบ้างแล้ว หรือมีเหตุอื่นดังที่จำเลยอ้างในฎีกา ก็ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษให้แก่จำเลย ที่ศาลอุทรณ์ภาค 1 ใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุก โดยให้เปลี่ยนโทษเป็นกักขังจำเลยนั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่คดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น แต่โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดมานั้น หนักเกินไป เห็นสมควรกำหนดโทษใหม่ให้เหมาะสมแก่คดี

          พิพากษาแก้เป็นว่า ลงโทษจำคุก 2 เดือน ลดโทษกึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุก 1 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนมีกำหนด 1 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

          มาตรา 56  ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น

          (1) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ

          (2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ

          (3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

         และเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิด และพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนดแต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 639,577