บุตรนอกสมรส จะถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาในกรณีใดบ้าง และบิดาจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ด้วยหรือไม่

บุตรนอกสมรส จะถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาในกรณีใดบ้าง และบิดาจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ด้วยหรือไม่

 

          หากผู้เยาว์เป็นบุตรเกิดจากหญิงที่ไม่ได้สมรสกับชายโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิง เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนบิดาของผู้เยาว์ เมื่อผู้เยาว์ไม่ได้เกิดจากบิดามารดาที่สมรสกัน การจะอ้างว่าผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อ

1. บิดามารดาสมรสกัน หรือ

2. บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือ

3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

 

ดังนั้น เมื่อพ่อไม่ได้มีลักษณะที่ปรากฏตามความดังกล่าว พ่อจึงไม่มีสิทธิใดๆ ในตัวผู้เยาว์ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547

 

          เพราะฉะนั้นแล้ว แม่จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว เมื่อแม่ไม่ประสงค์ให้พ่อดูแลเลี้ยงดูผู้เยาว์ แม่จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้พ่อคืนผู้เยาว์แก่แม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1)และ(4) ที่ให้แม่เป็นผู้กำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบได้

 

ข้ออ้างของฝ่ายพ่อที่ว่าดูแลผู้เยาว์ดีกว่าแม่ไม่อาจรับฟังได้ เพราะพ่อไม่มีสิทธิใดๆ ในตัวผู้เยาว์ไม่อาจอ้างเหตุเหนือสิทธิของแม่ผู้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ได้

 

          คำพิพากษาฎีกาที่ 16395/2557

          ผู้เยาว์เป็นบุตรเกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นหญิงที่มิได้สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนจำเลยที่ 1 แม้อ้างว่าเป็นบิดาของผู้เยาว์ แต่เมื่อผู้เยาว์มิได้เกิดจากบิดามารดาที่สมรสกัน การจะอ้างว่าผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อบิดามารดาสมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้มีลักษณะที่ปรากฏตามความดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิใดๆในตัวผู้เยาว์ไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547

ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองดูแลเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนผู้เยาว์แก่โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1)และ(4) ที่โจทก์เป็นผู้กำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบได้ ข้ออ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่าดูแลผู้เยาว์ดีกว่าโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ เพราะจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิใดๆ ในตัวผู้เยาว์ไม่อาจอ้างเหตุเหนือสิทธิของโจทก์ผู้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ได้

 

มาตรา 1546  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

 

มาตรา 1547  เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

 

มาตรา 1567  ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ

(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร

(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน

(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป

(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 638,191