ถูกสับเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์จากการนำรถไปซ่อมเป็นการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์


ปัญหาที่พบเจอได้ทั่วๆ ไปเลยคือการนำรถไปซ่อมในอู่ที่ตนไม่ได้มีความรู้จักหรือไม่คุ้นเคย แล้วถูกสับเปลี่ยนอะไหล่ หากเป็นผู้ที่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเรื่องรถหรือไม่คุ้นเคยเป็นแต่ขับแต่ขี่ อาจจะถูกสับเปลี่ยนอะไหล่ได้หากไม่ได้ทำการตรวจสอบให้ดี ไม่ว่าจะเป็นรถมีราคามาก ราคาน้อย อาจจะจุกจิกหน่อยแต่เพื่อผลประโยชน์ของตัวท่านเองต้องระมัดระวัง

ขอยกตัวอย่างกรณี นำเจ้าของรถไปเปลี่ยนกระจกรถยนต์ใหม่เพื่อให้เก็บเสียงได้ดีกว่าเดิม แต่เจ้าของอู่อ้างว่าต้องสั่งกระจกพิเศษนำเข้าจากต่างประเทศในประเทศซึ่งก็เป็นความจริงเจ้าของอู่ไม่ได้โกหกหรือออกกลอุบายใดๆ เลย กลับลดราคาให้ถูกกว่าร้านอื่นเสียดายซ้ำ แต่พอระหว่างเปลี่ยนเจ้าของอู่ได้ทดลงขับจึงทราบว่ารถคันนี้โชคนิ่มมากหากนำมาเก็บไว้เปลี่ยนกับคันอื่นน่าจะได้ราคาจึงแอบสับเปลี่ยนเป็นที่เรียบร้อย เมื่อเจ้าของรถนำรถกลับมาหลังจากเปลี่ยนกระจกนั้นรถกลับมาปัญหาเวลาขับถูกก้อนหินหรือลูกระนาดไม่ได้มีความสมูทหรือนิ่มเหมือนเดิม จึงเอ๊ะใจเปลี่ยนอู่เอารถไปเช็ค ปรากฏว่าโชคตัวที่ใช้อยู่นั้นเป็นของอะไหล่มือสองถูกสับเปลี่ยนมาแทนของแท้เดิม

ดังนั้นการกระทำของอู่ซ่อมรถเดิม เป็นการรับมอบการครอบครองแทนเจ้าของรถระยะเวลาหลายวันเพื่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลงตามการจ้าง แต่เจ้าของอู่ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถในขณะนั้นเบียดบังทรัพย์บางตัวเป็นของตนเองและนำออกขายเพื่อหากำไร การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการยักยอกทรัพย์ ผิดตามประวลกฎหมายอาญามาตรา 352

          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2521 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์จำเลยนำสืบรับกันว่าโจทก์จ้างจำเลยซ่อมรถไถของโจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้ซื้ออะไหล่นำไปให้จำเลยซ่อมที่อู่ซ่อมรถของจำเลยใช้เวลาซ่อมราว 1 ปี เสร็จ โจทก์เบิกความว่าเสื้อสูบที่โจทก์ซื้อมาให้จำเลยเปลี่ยนเป็นของใหม่นายประเสริฐ จาตุรงค์โชค เบิกความประกอบคำเบิกความของโจทก์ และโจทก์มีเอกสารหมาย จ.1, จ.2, จ.3เป็นหลักฐาน ทั้งนายณรงค์ รัตน์จันทร์ เบิกความว่า เสื้อสูบในเครื่องยนต์เป็นของเก่ามีรอยเชื่อม จำเลยเบิกความรับตามเอกสารหมาย จ.1 ว่า เสื้อสูบที่โจทก์นำมาให้เปลี่ยนเป็นของใหม่ ปรากฏว่าเสื้อสูบที่จำเลยใส่ไว้เป็นของเก่า จำเลยก็รับต่อตำรวจว่าเป็นเสื้อสูบที่ใส่ไว้ไม่รู้ว่าทำไมมีรอยเชื่อม ข้ออ้างของจำเลยไม่มีเหตุผล จึงฟังได้ว่าจำเลยรับเอาเสื้อสูบของใหม่ไว้จากโจทก์แล้วจำเลยเปลี่ยนเอาเสื้อสูบของเก่ามีรอยเชื่อมใส่ไว้ในเครื่องยนต์รถไถของโจทก์จริง แต่เห็นว่าเสื้อสูบที่โจทก์มอบให้จำเลย ได้อยู่กับจำเลยมานานราว1 ปี ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์มอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองทรัพย์นั้นไว้ การยึดถือครอบครองทรัพย์จึงอยู่ที่จำเลย มิใช่อยู่ที่โจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองเสื้อสูบการกระทำของจำเลยที่เปลี่ยนเสื้อสูบโดยเอาเสื้อสูบของใหม่ไปเสีย แล้วเอาเสื้อสูบของเก่าใส่ไว้นั้น เป็นความผิดฐานยักยอก

มาตรา 352  ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 640,662