เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้อย่างน้อย 60 วัน มิฉะนั้นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นในการชำระดอกเบี้ย
ตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องผู้ค้ำประกันแล้วนั้น
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้และเจ้าหนี้ได้ออกหนังสือแจ้งเตือนและบอกเลิกสัญญาไปแล้วนั้น
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเต็มจำนวนจะต้องทำตามแบบของกฎหมายเสียก่อน คือ
หลังจากที่ลูกหนี้เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้แล้ว(เมื่อหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปถึง)
เจ้าหนี้ต้องออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังผู้ค้ำประกันทราบภายใน 60 วัน
หากเจ้าหนี้ไม่ทำตามแบบของกฎหมาย ผู้ค้ำย่อมหลุดพ้น
ตัวอย่างคือ นายสมเป็นเจ้าหนี้ นาย ก
เป็นลูกหนี้ และมีนาย ข เป็นผู้ค้ำ ในจำนวนเงิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ปรากฏว่าเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระนาย ก
ไม่จ่ายหนี้ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562 นายสมจึงออกหนังสือทวงถามไปยังนาย ก.
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 หากนายสม ไม่ออกหนังสือทวงถามไปยังนาย ข. ภายใน 60
วันนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 อันเป็นวันที่นาย ก ผิดนัดชำระหนี้นายสมย่อมเรียกให้นาย
ข ชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในฐานะผู้ค้ำประกันหาได้ไม่เป็นการไม่ทำตามแบบกฎหมายตามมาตรา
686 วรรค 1
มาตรา 686 เมื่อลูกหนี้ผิดนัด
ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด
และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้
แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1279/2562 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคหนึ่ง
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 บัญญัติว่า
เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60
วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด
และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ
สัญญากู้ยืมเงินเพื่อการบริโภค
ข้อ 3 ระบุว่าตกลงผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน
เดือนละไม่น้อยกว่า 8,500 บาท ยกเว้นเดือนสุดท้าย
มีกำหนดชำระ 180 งวด เริ่มผ่อนชำระตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553
เป็นต้นไป และชำระให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม
2568 … ส่วนสัญญาข้อ 4 ระบุว่า
ถ้าผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้เงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยงวดหนึ่งงวดใดผู้กู้ยอมถือว่าผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด
ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราไม่เกินดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ให้กู้พึงเรียกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งในขณะทำสัญญากู้มีอัตราเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี
ของยอดเงินกู้คงเหลือ ณ วันที่ผิดนัด
แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลบัญชีสินเชื่อปรากฏว่านับแต่ทำสัญญาจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์เรื่อยมาจนกระทั่งในงวดเดือนกันยายน 2555 และงวดเดือนตุลาคม 2555 จำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ อันเป็นการผิดสัญญาข้อ 4 ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่
1 ผิดนัดชำระหนี้ ต่อมาจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2555 และชำระเรื่อยมาแม้จำเลยที่
1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลาตามสัญญาบ้างหรือไม่ครบบ้าง
แต่โจทก์ก็ยอมรับชำระหนี้ไว้โดยที่ไม่ได้ทักท้วงย่อมแสดงว่าโจทก์ไม่ถือระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นสาระสำคัญ
หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้กู้ให้ชำระหนี้ที่ค้างชำระโดยกำหนดเวลาพอสมควรก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 204 วรรคหนึ่ง
เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายใน
15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม โดยจำเลยที่ 1
ได้รับเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 จึงครบกำหนดชำระหนี้ในวันที่ 20 เมษายน 2559 แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย จำเลยที่ 1 จึงผิดนัดชำระหนี้เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559
และภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด
โจทก์ไม่มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
และจำเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ทายาทของยนายสัญชัย
ผู้ค้ำประกันชำระหนี้จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 686 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนของจำเลยที่
2 ถึงที่ 8 เป็นผลให้จำเลยที่ 2
ถึงที่ 8 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments