คดีอาญาทุกประเภทย่อมระงับไปเมื่อผู้กระทำผิดถึงแก่ความตาม
เคยได้ยินไหมครับว่า
การหนีให้พ้นความผิดคดีอาญาที่ดีที่สุดคือความตาย
ความหมายของคำพูดนี้หมายถึงเมื่อผู้กระทำผิดถึงแก่ความตายไปแล้ว ย่อยไม่มีสภาพบุคคลให้มารับโทษตามกฎหมายอาญาได้
ความเสียหายที่เกิดขึ้นตกเป็นความซวยของผู้เสียหาย
ตัวอย่างคือ
นายซ้ง
ได้ดื่มเหล้าเมาสุราที่ร้านลาปเป็ดท้ายหมู่บ้านเป็นประจำซึ่งระหว่างทางจากบ้านนายซ้งมาที่ร้านเหล้านั้นมีผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยตลาดเวลาเช้าตรู่ของทุกวัน
วันเกิดเหตุขณะที่นายซ้งกำลังจะกลับบ้านตนเองเมาสุรา
มีคนแก่ขับขี่รถจักรยานยนต์มอเตอร์ไซออกมาจากตลาดโดยไม่ชะลอ
ทำให้นายซ้งต้องหักหลบและชนเข้ากับประชาชนข้างทางชนเข้ากับเสาไฟฟ้า
และถึงแก่ความตาย
การกระทำของนายซ้งทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจำนวนมาก
มีความรับผิดต่อกฎหมายอาญาคือประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
มีโทษจำคุกและปรับตามกฎหมาย แต่เมื่อนายซ้งถึงความตายไปก่อนแล้ว
คดีอาญาระหว่างผู้เสียหายจึงระงับไป
แต่ยังต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อผู้เสียหายอยู่จากกองมรดกของนายซ้ง
มาตรา
39
"สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2530 เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าทำการจับกุมจำเลยกับ อ. ในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีน อ. ใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้จึงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงตาย เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดอาวุธปืนดังกล่าว ซึ่งเป็นปืนมีทะเบียนพร้อมกระสุน 4 นัดและปลอกกระสุนปืน 1 ปลอกเป็นของกลาง เมื่อ อ. ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง อ. ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 38จึงไม่อาจริบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวได้
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments