ความผิดอาญาต่อส่วนเมื่อไม่ติดใจเอายอมถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้องหรือยอมความคดีย่อมเลิกแล้วต่อกัน
หลายท่านอาจจะเคยเจอเหตุการณ์จ่ายเพื่อจบ
หมายถึงจบคดีความนะครับ กรณีที่เกิดมีเรื่องมีราวเป็นความผิดต่อกฎหมายคดีอาญานั้น
เรื่องถึงตำรวจมักจะเรียกคู่ความมาไกล่เกลี่ยกันจนเป็นที่พอใจแก่ผู้เสียหายแล้วไม่ติดใจเอาความ
คดีความอาญาจึงเลิกแล้วต่อกันทำได้แบบไหนบ้าง เช่น
ทำการไกล่เกลี่ยและชำระค่าเสียหายแก่กันก่อนที่จะมีการแจ้งความดำเนินคดีจนไม่ติดใจเอาความก็ลงบันทึกประจำวันไว้ที่สถานีตำรวจไว้เป็นหลักฐาน
หรือหากแจ้งความดำเนินคดีแล้วหากผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความก็ย่อมที่จะถอนแจ้งความได้
หรือกรณีหากพนักงานสอบสวนสรุปสำนวนส่งให้อัยการและมีคำสั่งฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาล
ผู้เสียหายก็ย่อมที่จะทำการถอนฟ้องได้
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2540
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา83,362,365ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365(3)อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินหากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดินมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์หามีสิทธิขอถอนฟ้องจำเลยที่2ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3ได้ไม่แต่ต่อมาภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่2มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดและตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์อ้างว่าโจทก์และจำเลยที่2ตกลงกันได้โจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยที่2ต่อไปจำเลยที่2ไม่คัดค้านและท้ายคำร้องดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วยคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์จึงเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่2ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)
มาตรา 39
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว
เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments