ผิดสัญญาอันมีมัดจำ เพราะเหตุสุดวิสัยไม่อาจจะโทษฝ่ายไหนได้ ต้องคืน “มัดจำ”


ผิดสัญญาอันมีมัดจำ เพราะเหตุสุดวิสัยไม่อาจจะโทษฝ่ายไหนได้ ต้องคืน “มัดจำ

กรณีหากเกิดที่ไม่อาจจะคาดคิดได้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดหรือเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขาย ทำให้ไม่อาจจะส่งมอบของหรือทำตามที่ตกลงได้ในสัญญาย่อมไม่อาจเรียกให้ฝ่ายไหนรับผิดได้เลย หากมีค่ามัดจำเมื่อไม่สามารถจะโทษฝ่ายไหนได้ย่อมต้องคืนมัดจำแล้ว สถานะระหว่างคู่สัญญาย่อมหมดไป

          ตัวอย่าง นายพรชัย ต้องการซื้ออาคารพาณิชย์หลังหนึ่ง จากนายประหยัด ราคา 12,000,000 บาท ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายต่อกันไว้ โดยมีข้อตกลงจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์กันในเดือนหน้า เมื่อผ่านเงื่อนไขสินเชื่อจากธนาคาร โดยนายพรชัยได้วางเงินมัดจำในการจะซื้อจะขายไว้ 500,000 บาท ปรากฏว่าได้เกิดเพลิงไหม้และลุกล้ำเข้ามายังอาคารพาณิชย์ดังกล่าวทำให้ตัวอาคารเสียหายทั้งหมด เมื่อถึงเวลานัดโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน นายประหยัด เรียกให้นายพรชัยมารับโอนอาคารพาณิชย์ดังกล่าว แต่นายพรชัยปฏิเสธที่จะไปรับโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงิน อ้างว่าอาคารเสียหายไปแล้ว

          ดังนั้นเมื่อหนี้ตามสัญญาเสียหายไปทั้งหมดไม่อาจจะโทษฝ่ายใดได้ การชำระหนี้และคู่สัญญาจึงตกเป็นโมฆะ กลับคืนสู่ฐานะเดิม และต้องคืนค่ามัดกลับไป แต่กรณีหากมีการเสนอตัวอาคารและที่ดินในสภาพดังกล่าว อาจจะทำการตกลงราคากันใหม่ ทำการซื้อขายต่อไปก็ย่อมได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสารแล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าว ถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง เมื่อขณะที่ไฟไหม้โรงสีไม่มีข้าวเปลือกแล้วมีแต่ข้าวสาร แสดงว่าข้าวสารที่จำเลยจะต้องส่งมอบแก่โจทก์เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว เมื่อที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใดจึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้โรงสีนั้นเนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ การชำระหนี้ของจำเลยด้วยการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง

          มาตรา 219  ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยฉะนั้น

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 638,183