การแจ้งความ แจ้งโรงพักไหนก็ได้ หากตำรวจไม่รับแจ้ง เป็นความผิด ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
การแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
ไม่ต้องคำนึงว่าพนักงานสอบสวนนั้นจะมีอำนาจสอบสวนคดีนั้นหรือไม่ กล่าวคือ
ผู้เสียหายสามารถร้องทุกข์ได้ทั่วราชอาณาจักร
แม้พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งแม้จะมิได้มีอำนาจทำการสอบสวน
หรือมิใช่ท้องที่เกิดเหตุก็ตาม ก็ยังมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ได้ (ฎีกาที่ 2974/2516)
ประกอบคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 419/2556 เรื่องการรับแจ้งความ
เมื่อมีผู้มาแจ้งความที่เกี่ยวกับคดีอาญา
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์
ไม่ว่าเหตุจะเกิดหรืออ้างหรือเชื่อว่าเกิดภายในเขตอำนาจการสอบสวนของตนหรือไม่ก็ตาม
ห้ามมิให้ปฏิเสธว่าเหตุมิได้เกิดในเขตอำนาจตน
คำพิพากษาฎีกาที่ 2974/2516การพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์ไว้จะมีอำนาจรับคำร้องทุกข์นั้นหรือไม่
เป็นคนละเรื่องกับการพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้นั้นจะมีอำนาจสอบสวนในความผิดเรื่องนั้นด้วยหรือไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 124
มิได้บังคับให้ร้องทุกข์เฉพาะต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนเสมอไป เหตุนี้
พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ซึ่งแม้จะมิได้มีอำนาจทำการสอบสวนในคดีใดเลย
ก็ยังมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ในคดีนั้นได้
ส่วนกรณีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ความผิดมิได้เกิดในอำนาจของตน
ให้รับแจ้งความแล้วส่งเรื่องไปยังพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป
(เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน) (คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 บทที่ 2 ข้อ 1.1.3.1 วรรคสอง)
ดังนั้น
เมื่อท่านมีการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวน
ปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์ไว้ดำเนินการสอบสวน
ถือเป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
(ฎีกาที่ 7630/2549)
คำพิพากษาฎีกาที่ 7630/2549
โจทก์เมาสุราจนครองสติไม่ได้ ประพฤติตนวุ่นวายในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน
และโจทก์ได้ชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว
ทำให้คดีอาญาที่โจทก์ถูกกล่าวหาเป็นอันเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37
(2) แต่เมื่อโจทก์กล่าวหาต่อจำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนว่าจ่าสิบตำรวจ
ป. ทำร้ายร่างกายโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายโดยมีเจตนาจะให้จ่าสิบตำรวจ ป. ได้รับโทษ
จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามมาตรา 2 (7) และเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ถูกกล่าวหาดังกล่าว
จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไว้เพื่อดำเนินการสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
การที่จำเลยไม่รับคำร้องทุกข์ของโจทก์ในข้อหาทำร้ายร่างกาย
อ้างเพียงว่าคดีเลิกกันแล้วโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ
จึงเป็นการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมีความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 157
ฉะนั้น จากนี้ไป หากท่านเดินทางไปแจ้งความร้องทุกข์ในคดีอาญาแล้วพนักงานสอบสวนบอกท่านว่าเหตุไม่ได้เกิดในท้องที่ของตนเอง
จึงไม่รับแจ้งความ ให้ท่านบอกกับพนักงานสอบสวนไปเลยครับว่า...การแจ้งความ
สามารถแจ้งโรงพักไหนก็ได้ หากตำรวจไม่รับแจ้ง
เป็นความผิดฐานละเว้นการปฎิบัติหน้าที่
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
เอาไปเอามาขาดอายุความ
เรื่องรถ
โท191 บอกให้ไปกินยาแล้วนอนพักผ่อนเลยถามใครบอก เขาบอกญาติบอก (ยังไม่เคยเจอหน้าเลย)ไม่เคยบอกญาติคนไหนเลย ป้าเลยถามชื่อ/ยศ รีบตัดสายเลย โทไปสภ.ไม่รับเลย
แบบนี้ได้ด้วยหรอ
แล้วรับแจ้งที่ไหนได้บ้างคับ
ศูนย์ พรบ ส่วนบุคคล
ที่ไหนได้บ้างคับ
การดักจับคนไม่ใส่หมวก เเละไม่มีใบขับขี่ พอฝนตกไม่ออกมาปฎิบัติหน้าที่ เเล้วคนที่มาก่อนหน้านั้นโดนจับหมวกกันเป็นนาว กระผมคิดว่า พวกท่านคงจะทำผลงาน ขอบคุณครับ สภ.พัทลุฃ
ทั้งที่คนเป็นแม่ของเด็กเป็นคนไปแจ้งความเอง