ชายหญิง “หมั้น” จะหมั้นได้ต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์

          เคยมีคดีหนึ่ง ศาลเคยวินิจฉัยว่าในขณะที่นาย อ. ทำการหมั้นกับนางสาว บ. นั้น นางสาว บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์(อายุเพียง 15 ปีเศษ) การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ (บิดาของนาย อ.) ทราบว่านางสาว บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปีจำเลยและ บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดามารดานาย อ. และนางสาว บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่นาย อ. กับนางสาว บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภรรยากันว่าจำเลยตกลงจะคืนสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547 (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

          อนึ่ง กรณีชายหรือหญิงเป็นผู้เยาว์ การหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลดังต่อไปนี้

          1) บิดามารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา

          2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มีมารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมหรือโดยพฤติการณ์ผู้ยังไม่ผ่านความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้

          3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม

          4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลตามข้อ 1)-3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง

          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435  “การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 638,187