ขึงเส้นลวดปล่อยไฟฟ้าไว้กันขโมย มีความผิดหรือไม่?

            การปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้เพื่อป้องกันขโมยนั้น สามารถทำได้เพื่อป้องกันสิทธิของตน แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาประมาณกระแสไฟฟ้าด้วย  โดยการป้องกันด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้านั้นเป็นการป้องกันทรัพย์นั้น หากใช้กระแสไฟฟ้าในขนาดทำอันตรายต่อชีวิตของคน จะกลายเป็นการป้องกันเกินกว่าเหตุ  ซึ่งศาลจะลดโทษเท่าใดก็ได้  แต่หากใช้กระแสไฟฟ้าในขนาดพอสมควร เช่นอยู่ในระดับที่พอทำให้สลบ หรือบาดเจ็บเล็กน้อย ก็จะกลายเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะไม่ถือว่าผู้กระทำเป็นผู้กระทำความผิดเลย

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7650/2553 จำเลยขึงเส้นลวดและปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้บริเวณหน้าต่างห้องพักของจำเลยเพื่อป้องกันขโมยเข้ามาลักทรัพย์ในห้องพักของจำเลย จึงเป็นเหตุให้เด็กชาย ก. บุตรเลี้ยงของจำเลยซึ่งลักลอบปีนหน้าต่างเพื่อเข้าไปลักทรัพย์ในห้องพักของจำเลยถูกกระแสไฟฟ้าช็อตถึงแก่ความตาย แม้การกระทำของผู้ตายจะถือเป็นการประทุษร้ายอันเป็นละเมิดต่อกฎหมายและต่อทรัพย์สินของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์สินของตนได้ แต่พฤติการณ์ที่จำเลยต่อและปล่อยกระแสไฟฟ้าแรงสูงถึง 220 โวลต์ ไปตามเส้นลวดที่ไม่มีฉนวนหุ้มนั้นย่อมเป็นอันตรายร้ายแรงโดยสภาพที่สามารถทำให้ผู้อื่นที่ไปสัมผัสถูกถึงแก่ความตายได้ ดังนั้น แม้จะเป็นการป้องกันคนร้ายที่จะเข้ามาลักทรัพย์สินในห้องพักของจำเลยและทำร้ายจำเลยกับภรรยาได้ แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นการเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ตาม ป.อ. มาตรา 69

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

 


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 638,193