แจ้งความเท็จไว้เป็นหลักฐาน จะมีความผิดหรือไม่ ?
การแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา
137 นั้น ต้องเป็นการแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ ในประการที่อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
ซึ่งหากข้อความที่แจ้งนั้น เป็นเท็จ ผู้กระทำก็อาจมีความผิดได้
ส่วนการแจ้งความไว้เป็นหลักฐานนั้น มีบางกรณีที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิดเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2543 จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. เพื่อเป็นหลักฐานหากจะมีข้อความบางส่วนเป็นเท็จหรือผิดความจริงไปบ้างก็ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ร้อยตำรวจโท
อ. ต้องทำการสอบสวนเนื่องจากไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจะมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์
การแจ้งความของจำเลยจึงย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีเพื่อเอาผิดต่อจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานได้
คำว่า
"ใส่ความ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร
แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย
กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์
เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น
มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์
จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง
จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำเพื่อป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้
ส่วนการแจ้งความเท็จเป็นหลักฐานว่าโฉนดหาย
ทั้งที่แท้จริงแล้วไม่ได้หายนั้น มีฎีกาที่ 19287/2555
วินิจฉัยว่าเป็นการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19287/2555 จำเลยเป็นเพียงผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์
การที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของโจทก์มิได้สูญหาย
แต่กลับไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโฉนดที่ดินพิพาทสูญหาย แล้วนำบันทึกคำแจ้งความไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วโอนขายที่ดินพิพาทให้บุคคลภายนอก
เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9556/2558 วินิจฉัยว่า
การขอแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ โดยความเท็จว่ามีการบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นและประชุมผู้ถือหุ้นโดยชอบแล้ว
ทั้งที่แท้จริงแล้วไม่ได้มีการประชุม เป็นแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9556/2558 กิจการของบริษัท บ.
ก็มิได้เป็นเพียงนิติบุคคลที่จดทะเบียนเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวข้องแต่เฉพาะบุคคลในเครือญาติของจำเลย
หากแต่ต้องติดต่อกับนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นด้วย จำเลยจะอ้างความเคยชิน
และความไว้วางใจระหว่างเครือญาติของจำเลยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
การที่จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และแจ้งย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท บ.
ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยอ้างว่าจำเลยได้บอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่
๒/๒๕๕๒ โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และส่งมอบให้ผู้ถือหุ้น
และที่ประชุมวิสามัญมีมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทจากเดิมที่ตั้งอยู่กรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดราชบุรีโดยไม่เป็นความจริง
การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม
ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments