ขู่เอาเงินชาวบ้าน ถ้าไม่ให้จะถูกทำร้ายร่างกาย มีความผิดข้อหากรรโชกทรัพย์
การกรรโชกทรัพย์นั้น
มีองค์ประกอบที่สำคัญๆว่า หากใครกระทำครบองค์ประกอบตามกฎหมาย
บอกไว้เลยคุณมีความผิดข้อหากรรโชกทรัพย์ โดยองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชก นั้น คือ
1. ผู้ใด
2. ข่มขืนใจ
3. ผู้อื่น
4. โดย
(1) ใช้กำลังประทุษร้าย หรือ
(2) ขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อ
ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม
5. ให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
6. จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น
7. เจตนา (องค์ประกอบภายใน)
คำว่า
เจตนาหมายถึงเจตนาข่มขู่เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน เช่น เงิน ทอง ที่ดิน รถยนต์
เช่นข่มขู่ว่า “…หากใครไม่จ่ายไม่ให้จอด ระวังจะจำเบอร์ไม่ได้ จำซอยไม่ได้ ขับเงียบ ๆ
ใกล้จะหมดเวลาของพวกมึงแล้ว” ลักษณะการพูดเป็นการข่มขู่ว่าอาจถูกทำร้าย
หรือ
พูดว่า “…หากไม่ยอมชำระหนี้ให้ มึงกับเมียจะเดือดร้อนเพราะอายุยังน้อย” ข้อความนี้เป็นถ้อยคำที่สามัญชนทั่วไปย่อมทราบและตีความได้ว่าเป็นคำพูดข่มขู่ว่าหากไม่ชำระหนี้ให้แล้วเรากับครอบครัวอาจถูกทำร้ายให้ได้รับความเดือดร้อนและเป็นอันตราย
การพูดลักษณะนี้ถือเป็นการกรรโชกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
22746/2555
จำเลยขับรถจักรยานยนต์มาที่วินรถจักรยานยนต์พูดว่า
หากใครไม่จ่ายไม่ให้จอด ระวังจะจำเบอร์ไม่ได้ จำซอยไม่ได้ ขับเงียบ ๆ
ใกล้จะหมดเวลาของพวกมึงแล้ว
มีลักษณะเป็นการข่มขู่ผู้เสียหายทั้งสามว่าอาจถูกทำร้าย
หลังจากมีการแจ้งความร้องทุกข์แล้วแต่ไม่มีการควบคุมตัวจำเลยในระหว่างดำเนินคดี
ผู้เสียหายทั้งสามเกรงจะได้รับอันตรายและถูกห้ามขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในซอยเกิดเหตุจึงต้องจำยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยวันละ
15 บาท ตามที่จำเลยเรียกร้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1199/2553
ถ้อยคำที่กลุ่มจำเลยทั้ง 5 โทรศัพท์มาทวงหนี้จากผู้เสียหายที่ว่า
“หากผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ให้
ผู้เสียหายกับบุตรภรรยาจะเดือดร้อนเพราะอายุยังน้อย”
เป็นถ้อยคำที่สามัญชนทั่วไปย่อมทราบและตีความได้ว่าเป็นคำพูดข่มขู่ว่าหากไม่ชำระหนี้ให้แล้วผู้เสียหายกับครอบครัวอาจถูกทำร้ายให้ได้รับความเดือดร้อนและเป็นอันตรายได้ถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายให้ต้องยินยอมชำระหนี้ให้แก่กลุ่มจำเลยทั้งห้า
ตามที่เรียกร้อง
ผู้เสียหายเดินไปสถานที่นัดหมายตามคำขู่มิได้ไปด้วยความสมัครใจการที่ผู้เสียหายแวะปรึกษาหรือแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ทราบถึงเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนและครอบครัวเป็นการแจ้งเพื่อขอความคุ้มครองจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประชาชนพึงกระทำกันตามปกติไม่ใช่ผู้เสียหายไม่เกิดความกลัวและไม่ยอมทำตามการขู่เข็ญ
การกระทำของจำเลยทั้ง 5
จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกรรโชกสำเร็จแล้วไม่ใช่อยู่ในขั้นพยายาม
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments