ทรัพย์สิน 4 ประเภทนี้ ไม่ใช่สินสมรส !!
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกัน
ตามกฎหมายปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทด้วยคือ สินส่วนตัวและสินสมรส ฉะนั้นมาศึกษากันครับว่าทรัพย์สินอย่างใดเป็นสินส่วนตัวและอย่างใดเป็นสินสมรส
เพราะการจัดการทรัพย์สินสองประเภทแตกต่างกัน กฎหมายได้วางหลักไว้ว่า
"สินส่วนตัว”ได้แก่
1.ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
กฎหมายปัจจุบันได้กำหนดให้ทรัพย์สินทุกชนิดที่มีอยู่ก่อนสมรสเป็นสินส่วนตัว
คำว่า
"สินส่วนตัว"
หมายถึงทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนการสมรส
ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะใหญ่หรือเล็ก
จะมีค่าหรือไม่มีค่ารวมตลอดทั้งทรัพย์สิทธิ์ต่างๆ เป็นต้น
2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว
เครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ
หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
หมายความว่า ทรัพย์สินเหล่านี้แม้ว่าได้มาระหว่างสมรสไม่ว่าด้วยประการใดๆ
3. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
คำว่า
"รับมรดก" หมายความถึง
การที่ผู้ให้ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ถึงแก่ความตายแล้ว กล่าวคือ
ถ้าเป็นโดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หาแล้ว
ทรัพย์สินเหล่านั้นจะตกเป็นสินส่วนตัว แม้ว่าจะได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นมาในระหว่างสมรสก็ตาม
คำว่า
"โดยการรับมรดก" นั้น
หมายถึงการรับมรดกไม่ว่าจะเป็นการรับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือทายาทโดยธรรม
ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวทั้งสิ้น
ส่วน
"การให้โดยเสน่หา" นั้นหมายถึงการให้โดยผู้รับมิต้องตอบแทนอย่างใดๆ
ทั้งสิ้น ทรัพย์สินที่ได้รับมานั้นก็เป็นสินส่วนตัว
แม้ว่าจะได้รับมาในระหว่างสมรสก็ตาม ฝ่ายใดให้ก็เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น
4. ของหมั้น
หมายถึงการมอบสิ่งของให้ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงความมั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย
การที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง
ทั้งนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471
สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สิน
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีอยู่ ก่อน สมรส
(2) ที่เป็น เครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือ
เครื่องประดับกาย ตามควรแก่ฐานะ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ ที่จำเป็น
ในการประกอบอาชีพ หรือ วิชาชีพ ของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้มา ระหว่าง สมรส โดยการรับมรดก หรือ
โดยการให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments