“ฉ้อโกง” กับ “ผิดสัญญาทางแพ่ง” แตกต่างกันอย่างไร ?
วันนี้มีคนปรึกษาเรื่องแจ้งความคดีถูกโกงแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้ง
ผู้เขียนเลยอยากเขียนอธิบายให้ทราบก่อนว่า กรณีไหนบ้างที่สามารถแจ้งความฐานความผิดฉ้อโกงได้
และกรณีไหนบ้างที่ต้องดำเนินคดีทางแพ่งเอง
คำว่า “โกง” มีความความหมายเข้าใจกับหลายแบบ
1. โกง ในที่นี้หมายถึง ฉ้อโกงทางอาญา
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ
หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอก
ลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ
ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
หมายความว่า เจตนาของผู้ที่โกง
คิดที่จะโกงมาก่อนแล้ว ใช้อุบายต่างๆนานา เพื่อให้ได้ทรัพย์สินไปจากผู้เสียหาย
เช่น ซื้อสินค้าและจ่ายเช็คที่บัญชีปิดแล้ว
ทำสัญญากู้ให้โจทก์ในนามบุคคลอื่นที่ไม่ตัวตนจริง (ฎ. 5255/2540)
, หลอกว่าสามารถพาไปทำงานต่างประเทศได้และเรียกเก็บค่าดำเนินการ
ทั้งที่ความจริงไม่สามารถพาไปได้ (ฎ.5401/2542) , หลอกขายฝากที่ดินแปลงที่สวย
ผู้เสียหายหลงเชื่อพอรับซื้อฝากปรากฏที่ดินเป็นป่ารกและสภาพต่างกันมาก (ฎ.1866/2543) นำสร้อยทองปลอมมาขายให้ผู้เสียหาย (ฎ.471/2543) ซึ่งตามตัวอย่างจะเห็นได้ว่า เจตนาของผู้ที่ฉ้อโกงทางอาญา
จะมีเจตนาไม่ชำระหนี้หรือหลอกมาตั้งแต่ต้น แต่ใช้เอกสาร สัญญา อุบาย
พูดจาหว่านล้อมจนผู้เสียหายเชื่อ
2. ส่วนคำว่า ถูกโกง หรือ ผิดสัญญาทางแพ่งที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจกัน ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ การที่จะเป็นการผิดสัญญาทางแพ่งนั้นหมายความว่า
เดิมคู่สัญญาไม่มีเจตนาจะโกง เช่นขณะทำสัญญาลูกหนี้ไม่มีเจตนาจะเบี้ยว
ทำสัญญาไปตามปกติถูกต้องครบถ้วน แต่ภายหลังจากที่ทำสัญญาแล้วสถานะทางการเงินไม่ดี
ขาดสภาพคล่องถึงไม่มีเงินมาใช้หนี้แล้ว แบบนี้จะเป็นกรณีผิดสัญญาทางแพ่งแทน
ยกตัวอย่างเช่น เคยทำสัญญาซื้อขายกัน
ปรากฏว่าจำเลยส่งสินค้าให้เพียงสองล็อตไม่ครบตามสัญญา เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
(ฎ.19/2541) , จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน
ปรากฏว่าภายหลังที่ดินถูกเวนคืนโดยจำเลยไม่ทราบมาก่อนเพราะทางราชการเพิ่งประกาศออกมา
แบบนี้เป็นกรณีผิดสัญญาทางแพ่ง (ฎ.151-152/2537)
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายข้อเท็จจริงที่คาบเกี่ยวกันมาก
ขอสรุปนิยามความแตกต่างไว้สั้นๆคือ
1). ความผิดฐานฉ้อโกง คือ ตั้งใจเบี้ยวมามาตั้งแต่แรก
2). กรณีผิดสัญญาทางแพ่ง คือ
ตอนแรกไม่ได้ตั้งใจเบี้ยว แต่ภายหลังทำสัญญาไม่มีจ่ายเลยเบี้ยว
ถ้าประสงค์ที่จะแจ้งความร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง
ต้องหาหลักฐานหรืออธิบายให้พนักงานสอบสวนเข้าใจว่า ผู้ที่มาโกงนั้น
ไม่มีเจตนาที่จะชำระเงินหรือตั้งแต่แรก และสิ่งที่ผู้ที่มาโกงพูดนั้น
ไม่มีอยู่จริง หรือไม่สามารถทำได้ตามที่พูดแน่นอน
เป็นการพูดจาหวานล้อมจนทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและให้ทรัพย์สินไปและที่สำคัญความผิดฐานฉ้อโกงนั้นต้องรีบแจ้งความร้องทุกข์
อย่าให้เกิน 3 เดือน
นับตั้งแต่วันที่ทราบว่าถูกโกงมิฉะนั้นจะขาดอายุความ เนื่องจากเป็นความผิดที่ยอมความได้
(ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96)
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
ได้บางครับ
เราจะต้องทำยังไงบ้างค่ะแต่เงินที่ลูกค้าโอนมาผ่านบันชีของเราแล้วเราโอนต่อไปยังทางร้านเลยเป็นความผิดของเราตรงๆต้องทำยังไงค่ะ
ผมร้องขอชดใช้เงินคืนไปครับ ลงบันบึกประจำวันด้วย ลายนิ้วมือด้วย
แบบนี้จะติดคุกไหมครับถ้าศาลไม่ยอม
ขอบคุณครับพี่ทนาย