หนี้บัตรเครดิต หากเจ้าหนี้ไม่ฟ้องคดีภายใน 2 ปี รับแต่วันชำระหนี้หรือใช้บัตรครั้งสุดท้าย คดีเป็นอันขาดอายุความ !!

การนำเงินในอนาคตมาใช้ที่เรียกว่า “สินเชื่อบัตรเครดิต”  ใช้ให้เป็นก็เกิดประโยชน์  ใช้ไม่ดีก็เกิดโทษ  หลายคนในปัจจุบัน เป็นหนี้บัตรเครดิตค่อนข้างเยอะ สำหรับบางคนนั้นติดหนี้เป็นแสนๆเลย  แล้วก็โทรมาปรึกษาทนายว่า “พี่ค่ะ หนูเป็นหนี้ทำอย่างไรดีค่ะ”  ผมก็ตอบให้เลยครับ “ใช้หนี้เจ้าหนี้ครับ”  เพราะเอาเงินเจ้าหนี้มาแล้ว และเงินนั้นคุณก็เป็นคนใช้มันหมดไปเอง  คุณก็ต้องเป็นคนหาคืนให้แก่เจ้าหนี้ครับ

ฉะนั้น แล้วในการใช้เงินอนาคตนั้น  ให้นึกถึงวันที่คุณจะต้องรับผิดชอบหาเงินคืนให้แก่เจ้าหนี้ด้วย เพราะเหตุผลที่ว่าตกงาน  มีภาระทางบ้าน  สามีหรือภรรยาทิ้งต้องเลี้ยงลูกคนเดียวนั้น  หรืออื่นๆมากมาย เหตุผลเหล่านั้นเจ้าหนี้เขาไม่ได้ตระหนักถึงตรงนั้น เมื่อคุณนำเงินไปใช้แล้ว พอถึงกำหนดเวลาชำระก็ต้องชำระคืนครับ  ใช้ชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาททางการเงิน  มิฉะนั้นจะตกเป็นทาส   ทำงานหามาเท่าไรนั้นก็หมดไปกับการใช้หนี้  จากเงินเดือนอาจจะเป็นเงินทอนได้ในพริบตา

เมื่อเราได้นำบัตรเครดิตนั้นไปใช้ซื้อสินค้าและบริการที่รับบัตรเครดิตนั้น หรือใช้บัตรเครดิตถอนเงินสดออกจากตู้  ATM ถือว่าธนาคารเป็นผู้รับทำการงานต่างๆให้แก่เรา และการที่ธนาคารได้ชำระเงินแก่ร้านค้าแทนไปก่อนแล้วค่อยมาเรียกเก็บเงินกับลูกหนี้ภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่ธนาคารได้ออกเงินทดรองจ่ายไปมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 139/3(7)   หนี้บัตรเครดิตนั้นธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารครั้งสุดท้าย ถ้าหากธนาคารไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้อง หรือฟ้องร้องภายใน 2 ปีคดีก็เป็นอันขาดอายุความหรือหมดสิทธิเรียกร้องลูกหนี้ก็พ้นความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้บัตรเครดิตให้แก่ธนาคาร เมื่อลูกหนี้ซึ่งเป็นจำเลยยกเป็นข้อต่อสู่โจทก์ ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง

ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 2456/2551 ความว่า “โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ประเภทบัตรเครดิตยอมผูกพันตามเงื่อนไขของผู้ถือบัตร การที่จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของสถาบันการเงินอื่น โจทก์จำเป็นต้องชำระเงินแทนจำเลยไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก โดยโจทก์เรียกค่าธรรมเนียมจากสมาชิก เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) มิใช่กรณีของลักษณะสัญญาพิเศษอันไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความจึงมีอายุความ 2 ปี

        จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2535 โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตภายในวันที่ 2 มกราคม 2536 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนด ถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2536 เป็นต้นไป ครบกำหนดอายุความในวันที่ 3 มกราคม 2536 การที่โจทก์นำเงินจำนวน 4,326.42 บาท ของจำเลยมาชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 เป็นการนำเงินฝากจากบัญชีอื่นตามที่โจทก์และจำเลยได้เคยตกลงกันไว้มาหักชำระหนี้โดยที่จำเลยไม่ได้รู้เห็นด้วยจึงเป็นการกระทำของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลย อีกทั้งเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 พ้นกำหนดเวลา 2 ปี จึงขาดอายุความ”

แต่อย่างไรก็ดี ในคดีแพ่งนั้นเรื่องอายุความนั้น ถ้าจำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ศาลจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเองไม่ได้ ดังนั้นถึงแม้ว่าคดีจะขาดอายุความแล้ว แต่ถ้าลูกหนี้ไม่ได้ยื่นคำให้การแก้คดีภายในกำหนดเวลาของกฎหมาย “ลูกหนี้จะเป็นฝ่ายแพ้คดี” ฉะนั้น เมื่อก่อหนี้ขึ้นมาแล้วก็ต้องใช้หนี้ แต่อย่ารอถึงวันนั้นเลย อย่ารอวัวหายแล้วล้อมคอก “การไม่มีหนี้ถือเป็นลาภอันประเสริฐ”

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,699