“นายจ้างควรทราบ” เมื่อลูกจ้างกระทำความผิดต่อบุคคลภายนอก นายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย
บทความนี้อยากให้บรรดานายจ้าง
เจ้าของกิจการ หรือเจ้าของบริษัทลองอ่านดู ปัจจุบันมีธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย
และแน่นอนว่าการทำธุรกิจส่วนใหญ่เจ้าของไม่สามารถลงไม้ลงมือทำธุรกิจได้เพียงคนเดียว
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีลูกจ้างเป็นตัวช่วยขับเคลื่อน
ให้ธุรกิจเราขยับขยายเติบโตยิ่งขึ้นไป
และหน้าที่สำคัญของนายจ้างคือการพิจารณาคัดเลือกลูกจ้างเข้าทำงาน
หากลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่ไม่ดีทำให้เกิดความเสียหายนายจ้างก็มีส่วนรับผิดเพราะคัดเลือกลูกจ้างไม่ดี
ไม่ดูแล ไม่อบรมสั่งสอน เพราะการทำงานของลูกจ้างเปรียบเสมือนนายจ้างเป็นผู้กระทำเอง
กรณีที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างจะใช้กับการจ้างอันมีลักษณะเป็นการจ้างแรงงานเท่านั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 ได้ให้ความหมายของการจ้างแรงงาน ดังนี้ “อันว่าจ้างแรงงานนั้น
คือสัญญาซึ่งคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง
เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้”
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจ้างแรงงานคือสัญญาลูกจ้างตกลงทำงานให้นายจ้าง และนายจ้างตกลงให้สินจ้างเช่น
ค่าจ้างรายวัน รายเดือน หรือรายปี โดยไม่คำนึงถึงผลสำเร็จของงาน
และคำว่าลูกจ้างยังหมายความรวมถึง ลูกจ้างไม่ประจำ ลูกจ้างชั่วคราว
ลูกจ้างทดลองงานอีกด้วย
ความผิดของลูกจ้างที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วยนั้น จะต้องเป็นการกระทำในลักษณะที่อยู่ในทางการที่จ้าง กล่าวคือต้องเป็นผลจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างในขณะปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ความว่า
“นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น”
มีแนวคำพิพากษาฎีกาประกอบดังนี้
ฎ.1656/2498
ศาลฎีกาฟังว่านายจินดา(ลูกจ้าง) เป็นลูกจ้างขององค์การ
ร.ส.พ.อุดรธานีจำเลย การที่นายจินดาขับรถยนต์หมายเลข21 ทั้งไปและกลับจากอุดรถึงนครพนมเป็นการที่กระทำไปในกิจการของนายจ้าง
แม้ผู้บาดเจ็บเสียหายได้อาศัยรถมาด้วยก็ดี
จะฟังว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของนายจินดายังไม่ชอบ
จำเลยต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425
ฎ.4058/2560 จำเลยที่
1 เริ่มต้นโดยการขับรถยนต์ตามหน้าที่ตราบใดที่ยังไม่นำรถเข้าเก็บถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ยังไม่เสร็จสิ้น
แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะขับรถไปเที่ยวดื่มสุรากับเพื่อนๆ
ก็ต้องถือว่าอยู่ในระหว่างทำงานในทางการที่จ้าง การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง
เป็นเหตุให้พุ่งเข้าชนท้ายรถยนต์ของโจทก์อย่างแรง รถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างจะปัดความรับผิดชอบของตนโดยอ้างระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยที่
2 ซึ่งจำเลยที่
1 ฝ่าฝืนมาใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้
จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่
1 ต่อโจทก์
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments