จดทะเบียนสมรสกัน แต่ไม่อยู่กินเป็นสามีภริยากัน การสมรสนั้นตกเป็น “โมฆะ”
การจดทะเบียนสมรสนั้น คือการสมรสที่ชายและหญิงยินยอมเป็นสามี
ภริยากัน และต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้า
นายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้
และนอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความรักที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ยังเป็นการรักษาสิทธิต่างๆในการเป็นสามีหรือภรรยากันตามกฎหมายต่อกันด้วย
แต่ทั้งนี้ อยากให้คุณมองข้ามสิ่งเหล่านั้นไป
โปรดมองไปถึงความรักที่มีให้ต่อกันที่แท้จริง ตกลงจะเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน
อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาทั้งในทางธรรมชาติและกฎหมาย ได้ดูแลความทุกข์สุข
เจ็บป่วยซึ่งกันและกันต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน
และทำให้ทุกวันเปรียบเสมือนข้าวใหม่ปลามัน
จงอย่ามองความรักเป็นเพียงผลประโยชน์หรือทรัพย์สินที่ที่คุณจะได้รับจากคนรัก
เพราะมิฉะนั้นแล้ว สิ่งที่คุณนั้นกระทำนั้นมันอาจใช่ความรักจริงๆ
หากเพียงแต่รักในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวคุณเท่านั้น
อีกทั้งการสมรสนั้นยังอาจตกเป็นโมฆะตามกฎหมายอีกด้วย ดังนั้น
การจดทะเบียนสมรสที่จะให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น
การแสดงออกถึงเจตนาที่จะยินยอมให้ความรักของตนนั้นปรากฏโดยเปิดเผยต่อสาธารณะชนและนายทะเบียนว่าเรานั้น
ประสงค์จะใช้ชีวิตคู่อยู่กินเป็นสามีภริยาต่อกันจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
ซึ่งในเรื่องนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2545
การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน
โดยทั้งสองคนตกลงจะเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน
ต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาทั้งในทางธรรมชาติและกฎหมาย ได้ดูแลความทุกข์สุข
เจ็บป่วยซึ่งกันและกันต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน
การที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ช. แต่ไม่ได้พักอาศัยอยู่ด้วยกัน เมื่อ ช. ป่วย
โจทก์เป็นผู้พา ช. ไปโรงพยาบาลและเสียค่ารักษาพยาบาลให้ และยังให้ ช.
ไปพักอาศัยอยู่ด้วย
ส่วนจำเลยยังคงพักอาศัยอยู่กับน้องสาวและไม่เคยออกค่ารักษาพยาบาลทั้งไม่เคยมาเยี่ยมเยียน
ช. เลย เห็นได้ชัดว่าจำเลยกับ ช. มิได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแต่อย่างใด
จำเลยเองก็ยังรับว่าไม่อยากไปจดทะเบียนสมรส แต่ ช.
เป็นผู้พาไปโดยบอกว่าถ้าไม่จดทะเบียนสมรสแล้วจะไม่มีผู้ใดมีสิทธิรับเงินบำเหน็จตกทอด
ซึ่งก็ปรากฏว่าเมื่อ ช. ถึงแก่กรรมจำเลยเป็นผู้ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดมาจริง
แสดงว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ช. โดยมิได้มีเจตนาที่จะเป็นสามีภริยากันมาแต่แรก
หากแต่เป็นการกระทำเพื่อให้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จตกทอดเท่านั้น
การสมรสของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495
กฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1458 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามี
ภริยากัน
และต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย
มาตรา 1495 การสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 145๐ มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
เป็น พระราชวงศ์ ประเทศ สแปน แล้ว สามีไม่มารับ ภรรยา ไปอยู่กินด้วยกัน และ ยังมีคนปิด บัง ความจริงจาก ผู้เป็น ภรรยา สาวไทย เราจะ ช่วยให้ ปภาดา สงจันทร์ และ คู่รัก เจอกันและสมหวังได้อย่างไร คะ ตอบ.คำถาม
ทะเบียนสมรสจะเป็นโมฆะไหมค่ะ เพราอยากจะจดทะเบียนสมรสกับแฟนใหม่
8 ปีแล้วทะเบียนสมรสถือเป็นโมฆะไหมค่ะ
ไม่งั้นไม่ยอมหย่า แต่เรื่องนี้ฝ่ายหญิงเค้าฟ้องได้หรอทั้งๆที่มีครอบครัวไปแล้ว