เล่นแชร์อย่างไร ให้กฎหมายคุ้มครอง ?
การเล่นแชร์เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นการระดมทุนหาเงินก้อนที่ง่ายที่สุดในรูปแบบหนึ่ง
เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้หลักประกันหรือรายการเดินบัญชีเหมือนการขอกู้ธนาคาร
และไม่มีความเสี่ยงเหมือนกู้หนี้นอกระบบที่คอยตามขู่ตามทวงทั้งต้นทั้งดอกอยู่วันละ
3 เวลา หลังมื้ออาหารอยู่ร่ำไป มือแรกที่ร้อนเงินก็เสนอดอกที่สูงหน่อย
ส่วนมือท้ายๆที่ไม่ได้รีบใช้เงิน ก็คิดเสียว่าให้แชร์เป็นตัวช่วยเก็บเงินก้อน
อย่างไรก็ดี การเล่นแชร์ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่อีกมาก เช่น
เปียแล้วไม่จ่าย หรือลูกแชร์หนี้ เท้าแชร์ก็ไม่ยอมจ่ายแทน วงแชร์ก็ล่มกันไป
ทำได้แต่ก้มหน้าโทษเวรกรรมและฟ้าดิน ทั้งที่การเล่นแชร์
ก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว
ซึ่งการตั้งวงแชร์ที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้นั้น
ต้องมีรูปแบบตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 คือ
“การเล่นแชร์” หมายความว่า
การที่บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์
โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงิน หรือทรัพย์สินอื่นใด รวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวด ๆ
เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดไป
โดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด”
ทั้งนี้ เมื่อการตั้งวงแชร์ของท่านเข้าลักษณะดังกล่าว
ก็ถือเป็นนิติสัมพันธ์อย่างหนึ่ง ลูกแชร์ก็มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองกลาง
เจ้ามือมีหน้าที่นำเงินมาให้ หากไม่สามารถนำเงินกองกลางมาจัดสรรให้
เจ้ามือก็ต้องรับผิดแทน
ซึ่งความรับผิดดังกล่าวเป็นความผิดทางแพ่ง
ผู้เสียหายสามารถฟ้องดำเนินคดีทางแพ่งกับเจ้ามือได้ แต่ไม่ใช่ความฐานยักยอก
ซึ่งเป็นความผิดในทางอาญา จึงไม่สามารถแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีในฐานยักยอกได้
แต่ฟ้องเจ้ามือเป็นคดีแพ่งได้ เรื่องนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2544
“เงินค่าแชร์แต่ละงวดที่ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมส่งให้จำเลย
เมื่อผู้ใดประมูลแชร์ได้ ก็จะตกได้แก่ผู้นั้น
กรรมสิทธิ์ในเงินที่ส่งไปแล้วมิได้เป็นของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมต่อไปอีกและหากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมไม่สามารถประมูลแชร์ได้เพราะแชร์ล้มเลิก
ไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยในฐานะที่เป็นเจ้ามือแชร์ก็ต้องรับผิดแทน
ซึ่งเป็นความผิดในทางแพ่งจำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก”
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
ทำไงดีเค้าจะเอาเรื่องขึ้นมา เครียดมากค่ะ