“เมียหลวง VS เมียน้อย” ใครได้ ? ใครเสีย ?

           ถ้าสามีแอบไปมีเมียน้อย ไปมีชู้ แถมเมียน้อยก็เดินเชิดหน้าชูตาแสดงออกให้บุคคลทั่วไปรู้ว่าฉันนี้แหละคือภริยาของผู้ชาย “แบบนี้เมียหลวงก็เจ็บจิ๊ดดดดสิ” เช่นนี้ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถทำอะไรเมียน้อยและสามีชั่วได้บ้าง ครั้งนี้ผมจะมีเสนอสิทธิพื้นฐานของเมียหลวง ว่าท่านมีสิทธิทำอะไรกับฝ่ายชายและหญิงชู้ได้บ้าง

            1. “ภริยา” สามารถฟ้องหย่า”สามี”ได้ (ตามป.พ.พ 1516(1))
            2. “ภริยา” สามารถฟ้อง”เมียน้อย” เพื่อเรียกค่าทดแทนได้ (ตามป.พ.พ. มาตรา 1523)
            3. “ภริยา” สามารถฟ้อง”สามี” เพื่อเรียกค่าทดแทนได้ (ตามป.พ.พ. มาตรา 1523)
            4. “ภริยา” สามารถฟ้องทั้ง”สามีและเมียน้อย” เพื่อเรียกค่าทดแทนพร้อมกันก็ได้ (ตามป.พ.พ. มาตรา 1523)
            5. ถ้าการหย่าทำให้ “ภริยา” ยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ (ตามป.พ.พ มาตรา 1526 และฎีกาที่ 8046/2556)
            ตัวอย่างตามข้อ 5. เช่น ก่อนจดทะเบียนสมรสภริยาเคยได้รับเงินช่วยเหลือเนื่องจากสามีคนเดิมเสียชีวิตจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เดือนละ 10,000 บาท ในฐานะเป็นหม้าย จนกว่าโจทก์จะเสียชีวิตหรือสมรสใหม่ เมื่อภริยาสมรสกับสามี ภริยาจึงหมดสิทธิรับเงินดังกล่าว เมื่อเหตุฟ้องหย่าเกิดขึ้นเพราะฝ่ายสามี เช่นนี้ ภริยาขอให้สามีจ่ายค่าเลี้ยงชีพภริยาหลังจากหย่าได้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

            มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
            (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

            มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516(1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น
สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
ถ้าสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตามมาตรา 1516(1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้

            มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติมาตรา 1598/39 มาตรา 1598/40 และมาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
            สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดีหย่านั้น

            มาตรา 1598/39 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้
            ในกรณีที่ศาลไม่พิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะเหตุแต่เพียงอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ในขณะนั้น หากพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป และพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของผู้เรียกร้องอยู่ในสภาพที่ควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู ผู้เรียกร้องอาจร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่งในคดีนั้นใหม่ได้

            มาตรา 1598/40 ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นให้ชำระเป็นเงินโดยวิธีชำระเป็นครั้งคราวตามกำหนด เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันให้ชำระเป็นอย่างอื่นหรือโดยวิธีอื่น ถ้าไม่มีการตกลงกันและมีเหตุพิเศษ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและศาลเห็นสมควร จะกำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นอย่างอื่นหรือโดยวิธีอื่น โดยจะให้ชำระเป็นเงินด้วยหรือไม่ก็ได้
ในกรณีขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เมื่อมีเหตุพิเศษและศาลเห็นเป็นการสมควรเพื่อประโยชน์แก่บุตร จะกำหนดให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการใด ๆ นอกจากที่คู่กรณีตกลงกัน หรือนอกจากที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอก็ได้ เช่นให้ไปอยู่ในสถานการศึกษาหรือวิชาชีพ โดยให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูออกค่าใช้จ่ายในการนี้

            มาตรา 1598/41 สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น จะสละหรือโอนมิได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: ออย [IP: 124.122.43.xxx]
เมื่อ: 2020-11-02 22:07:34
ถาม่ได้จดทะเบียนสามารถทำอะไรได้บ้างคะ
#2 โดย: papitcha [IP: 183.88.56.xxx]
เมื่อ: 2021-04-27 07:39:12
ถ้าไม่ได้จดทะเบียน แต่มีการใช้ชีวิต ร่วมสร้างฐานะ 19 ปี โดยมี ญาติพี่น้องทั้งสองฝ่ายทราบ สามรถทำอะไรได้บ้างคะ
#3 โดย: radickjames7@gmail.com [IP: 197.210.227.xxx]
เมื่อ: 2022-11-09 18:10:27
--
สวัสดีคุณนายและมาดาม

เราเป็นโครงสร้างสินเชื่อส่วนบุคคล
เพื่อต่อสู้กับความยากจนและการกีดกันธนาคาร I
ข้อเสนอออนไลน์:

- สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์
- สินเชื่อส่วนบุคคล
- สินเชื่อการเงิน
- สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์

และทุกอย่างตั้งแต่ 200000 บาทถึง 50000000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับเงินกู้ทั้งหมด และเงื่อนไขของข้อเสนอเงินกู้นั้นง่ายมาก เงินกู้ที่ร้องขอจะได้รับภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากส่ง ข้อเสนอของฉันเป็นเรื่องจริงจัง คุณสามารถรับรู้ได้โดยขั้นตอนตามกฎหมายสำหรับการให้กู้ยืมเงินระหว่างบุคคล

ติดต่อบริษัทวันนี้และแจ้งให้เราทราบว่าคุณต้องการกู้เงินเท่าไหร่

ที่อยู่อีเมลของบริษัทคือ:
(radickjames7@gmail.com)
+2349169711537

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,226