หุ้นสามารถครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่ ?
รู้มั๊ย >>> หุ้นสามารถครอบครองปรปักษ์ได้
การโอนหุ้นในบริษัทจำกัดนั้น ไม่ใช่คิดจะโอนก็โอนกันได้
ไม่เหมือนทรัพย์สินชนิดอื่นๆ
เพราะกฎหมายกำหนดรูปแบบของการโอนไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 คือ ต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง บอกว่า
การโอนหุ้นนั้นหากไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน
มีพยานรับรองลายมือนั้นอย่างน้อย 1 คน
ผลย่อมเป็นโมฆะ
เมื่อเป็นโมฆะ ก็เอาไปอ้างกับคนอื่นไม่ได้
ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 บอกว่า โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันได้ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียจะยกเหตุแห่งความเสียเปล่าในโมฆะกรรมนั้นขึ้นกล่าวอ้างเมื่อใดก็ได้
ทางปฏิบัติในสังคมปัจจุบัน
เวลาจะเปลี่ยนผู้ถือหุ้นแต่ละทีมักจะจัดทำเพียง บอจ.5 (บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น) นำส่งนายทะเบียนก็จบ ความจริงมันไม่จบครับ
เพราะถ้าเจ้าของหุ้นเดิมเขาฟ้องเรียกหุ้นคืน ก็ต้องคืนเพราะ บอจ.5 ไม่ใช่หลักฐานการโอนหุ้น เรื่องนี้แพ้คดีมานักต่อนัก
และบางรายติดคุกด้วยเพราะแก้ไข บอจ.5 โดยพละการ
แต่ก็ไม่แน่เสมอไปหรอกครับ เหนือฟ้ายังมีฟ้า
เพราะหุ้นนั้นสามารถได้มาโดยการครอบครอง (ปรปักษ์)
ได้เหมือนกับทรัพย์สินชนิดอื่น เพราะเป็นทรัพย์อย่างหนึ่งเหมือนกัน
ซึ่งหุ้นเป็นสังหาริมทรัพย์ หากครอบครอง หรือ มีชื่อใน บอจ.5 เกิน 5 ปี กฎหมายบอกว่าท่านได้กรรมสิทธิ์
ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และ
เทียบเคียงแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments