การขายฝาก เสียภาษีกันอย่างไร
การขายฝาก เสียภาษีกันอย่างไร
ในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น แบ่งได้ดังนี้
1กรณีของผู้ขายฝาก
การขายฝาก ตามมาตรา 491 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้ขายฝากนำทรัพย์ไปขายฝากแก่ผู้รับซื้อฝากย่อมถือว่ามีรายได้จากการขายและต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้ ถือเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
"สำหรับผู้รับซื้อฝากซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5) แห่งประมวลรัษฎากร (ถ้าเป็นการขายฝากที่ต้องจดทะเบียน นายทะเบียนจะหัก ณ ที่จ่ายให้อยู่แล้ว)
"
ผู้ขายฝากที่ถูกหักภาษีไปแล้วจะไม่นำเงินได้ที่ได้จากการขายฝากไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นก็ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(4) แห่งประมวลรัษฎากร
2กรณีของผู้ขายฝาก
"กรณีนี้ ผู้ขายฝากก็ต้องเสียภาษีเช่นเดิมแต่จะต้องนำเงินได้ จากการขายฝากในกรณีดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น
โดยไม่มีสิทธิเลือกเสียภาษีตามจำนวนที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 48(4) แห่งประมวลรัษฎากร
"
"อย่างไรก็ดี หากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางค้าหรือหากำไรดังกล่าวเข้าลักษณะเป็น
การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 4(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวล
รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้"
"แล้วผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกไม่ต้องนำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมารวม
คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้"
ทั้งนี้ ในการคำนวนภาษี ให้ใช้ราคาขายตามราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments