นิยามความต่างระหว่างเด็ก เยาวชน และผู้เยาว์

นิยามความต่างระหว่างเด็ก เยาวชน และผู้เยาว์
"พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ บัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ว่า “เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ และ “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์
ดังนั้น ตามกฎหมายจึงสามารถเรียกได้ว่า

อายุไม่เกิน 15 ปี : เด็ก
15 ปี 1 วัน ไปจนถึง 17 ปี 364 วัน : เยาวชน "
นอกจากนี้ยังมีนิยามตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งกำหนดว่า “เด็ก” หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี โดยอนุสัญญาดังกล่าว ไม่ได้กำหนดแยกความแตกต่างระหว่างเด็กกับเยาวชนอีก
และในส่วนของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้ให้นิยามไว้ในลักษณะเดียวกัน

"และสำหรับในส่วนของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยนั้น ไม่ได้มีการบัญญัติถึง “เด็ก” หรือ”เยาวชน”เอาไว้ แต่จะใช้คำว่า “ผู้เยาว์”
โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิขย์ มาตรา 19 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุยี่สิบปีบริบูรณ์”
และมาตรา 20 บัญญัติว่า “ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้น ได้ทำตามบทบัญญัติในมาตรา 1448”
และมาตรา 1448 บัญญัติว่า ““การสมรสจะทำได้ ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีมีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้สมรสก่อนนั้นได้”

ดังนั้นแล้ว ในความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้เยาว์หมายถึง
1.บุคคลที่อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์
2. คนที่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่จดทะเบียนสมรสแล้ว "

ผลของความต่างระหว่างเด็ก เยาวชน และผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

"ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้มีการแยกแยะระหว่างเด็ก เยาวชน และผู้เยาว์ แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จะมีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้เยาว์หรือผู้บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น โดยหากบุคคลใดยังไม่บรรลุนิติภาวะ ย่อมต้องถือว่าเป็นบุคคลไร้ความสามารถ และต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของผู้อนุบาล(ผู้ใช้อำนาจปกครอง) "
ทั้งนี้ หากบุคคลใดยังไม่บรรลุนิติภาวะ การทำนิติกรรมของบุคคลนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสมอ
"นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือนิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง (มาตรา 22) เช่น รับการให้,รับการปลดหนี้
กิจการที่จะต้องทำเองเฉพาะตัว (มาตรา 23) เช่น รับรองบุตร
ทำการใด ๆ ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร (มาตรา 24) เช่น ซื้ออุปกรณ์การเรียน
ทำพินัยกรรม ในกรณีอายุ 15 ปีขึ้นไป (มาตรา 1703)
ทำการค้าหรือทำสัญญาจ้าง ในรูปแบบที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 27)"


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
www.closelawyer.co.th
#ทนายใกล้ตัว

5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 639,855