นิติกรรมอำพราง คืออะไร

นิติกรรมอำพราง คืออะไร ?
๑. ลักษณะทั่วไปของนิติกรรมอำพราง
นิติกรรมอำพราง ตามมาตรา ๑๕๕ วรรคสอง จะต้องประกอบด้วยการกระทำ ในลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) คู่กรณีทำนิติกรรมขึ้น ๒ ฉบับ ซึ่งมีเนื้อหาข้อความแตกต่างกัน
(๒) นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นโดยเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก แต่เกิดขึ้นจากการ แสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีเพื่อปิดบังนิติกรรมอีกอันหนึ่ง
(๓) นิติกรรมอีกอันหนึ่งหรือนิติกรรมที่ถูกปกปิดเป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นตามเจตนา ที่แท้จริงของคู่กรณี แต่สงวนไว้เป็นความลับ รู้กันเฉพาะระหว่างคู่กรณีเท่านั้น

นิติกรรมอำพรางนั้นจะต้องมีนิติกรรมในเรื่องเดียวกันอยู่สองนิติกรรม คือ นิติกรรมที่แสดงออกมาโดยเปิดเผย เป็นนิติกรรมที่ไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี คู่กรณีไม่ประสงค์ให้มีผลบังคับตามกฎหมาย เป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่าง คู่กรณี นิติกรรมที่แสดงออกมาจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๕๕ วรรคหนึ่ง ส่วนอีก นิติกรรมหนึ่งเป็นนิติกรรมที่ไม่เปิดเผย เรียกว่า นิติกรรมที่ถูกอำพราง ซึ่งตรงกับเจตนา ที่แท้จริงของคู่กรณี และคู่กรณีประสงค์ให้ใช้บังคับระหว่างกันเอง กรณีจึงต้องบังคับตาม นิติกรรมที่ถูกอำพรางนี้
๒. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับนิติกรรมอำพราง
นิติกรรมอำพรางเกิดจากการที่คู่กรณีแสดงเจตนาลวงโดยวิธีทำนิติกรรมซ้อนกัน ไว้ ๒ อัน อันหนึ่งเรียกว่า “นิติกรรมอำพราง” อีกอันหนึ่งเรียกว่า “นิติกรรมที่ถูกอำพราง” คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๘๖/๒๕๕๒ ทำสัญญาขายฝากอำพรางสัญญากู้ยืมเงิน ให้บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา ๑๕๕ วรรคสอง และให้ถือเอา สัญญาขายฝากที่เป็นเจตนาลวงและตกเป็นโมฆะแล้วเป็นหลักฐานของสัญญากู้ยืมเงินที่ ได้มีการมอบโฉนดไว้เป็นประกันเงินกู้
๓. กรณีที่มิใช่เป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง
(๑) กรณีที่ในขั้นแรกคู่กรณีตกลงกันอย่างหนึ่ง แต่ในที่สุดเวลาเข้าทำนิติกรรม กลับตกลงกันอีกอย่างหนึ่ง โดยต้องการให้ข้อตกลงอย่างหลังนี้มีผลบังคับกันจริง กรณี เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องนิติกรรมอำพราง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๒๕/๒๕๒๓ เดิมโจทก์มีเจตนาเพียงกู้เงินจากจำเลย ไม่ประสงค์จะขายฝากที่พิพาท แต่เมื่อจำเลย
ให้โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่พิพาทซึ่ง ถ้าโจทก์ไม่ยอมทำสัญญาขายฝากจำเลยก็จะไม่ให้เงิน ในที่สุดโจทก์ได้ตกลงทำสัญญา ขายฝากให้ เช่นนี้ ถือได้ว่า โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่พิพาทด้วยความสมัครใจของโจทก์ เอง สัญญาขายฝากหาใช่เกิดจากเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ทำขึ้น เพื่ออำพรางการกู้ยืมเงินไม่ สัญญาขายฝากดังกล่าวจึงไม่ใช่นิติกรรมอำพรางและมีผล ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย จักเราก็นัดมือหินมีระดูกพะมรู้แกเองในคว

(๒) กรณีที่ทำนิติกรรมอันหลังขึ้นเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในนิติกรรม อันแรก เป็นการที่คู่กรณีได้ทำนิติกรรม
อันหนึ่งขึ้นโดยเปิดเผย แล้วต่อมาคู่กรณีนั้น ได้ตกลงทำนิติกรรมอีกอันหนึ่งเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือข้อความในนิติกรรม อันแรก จึงไม่ถือว่าเป็นนิติกรรมอำพราง นิติกรรมที่ทำขึ้นภายหลังหาใช่นิติกรรมที่ถูก อำพราง ซึ่งคู่กรณีประสงค์จะสงวนเป็นความลับไม่ หากแต่เป็นนิติกรรมอันใหม่ที่คู่กรณี ประสงค์จะผูกพันกันอย่างแท้จริงและโดยเปิดเผยเช่นกัน เช่น ดำทำสัญญาเช่าบ้านเขียว ในราคาเดือนละ ๑๐.๐๐๐ บาท ต่อมาเขียวสงสารดำจึงลดค่าเช่าให้ โดยตกลงทำเป็น สัญญาเข่าขึ้นใหม่ กำหนดค่าเช่าบ้านเพียงเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท ซึ่งในขณะที่ท่ นิติกรรมทั้งสองนั้น คู่กรณีทำขึ้นด้วยความสมัครใจประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์กันตาม นิติกรรมนั้น ๆ โดยมิได้มีเจตนาลวงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เรื่องนิติกรรมอำพราง

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 639,855