คู่สมรสเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้

คู่สมรสเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้
 
ในมุมมองของกฎหมายครอบครัวของประเทศไทยนั้น การตกลงสมรสกันย่อมหมายถึงคู่สมรสทั้งสองฝ่าย ตกลงจะอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภรรยา ซึ่งการช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดู และการมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นสาระสำคัญในการอยู่กินด้วยกันอีกประการหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากที่กำหนดให้การอุปการะเลี้ยงดูผู้อื่น การไม่ให้ความช่วยเหลือ และการมีสภาพแห่งกายเปลี่ยนแปลงไปจนไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดการเป็นเหตุหย่าได้ด้วย ดังนั้น การที่คู่สมรสเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือสูญเสียความสามารถในการมีเพศสัมพันธ์ จึงเป็นเหตุให้ถูกฟ้องหย่าได้
 
อย่างไรก็ดี หากการสูญเสียความสามารถในการร่วมประเวณีได้อย่างถาวรนั้น เกิดจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งด้วย คู่สมรสฝ่ายนั้นจะยกเหตุที่คู่สมรสของตนสูญเสียความสามารถในการร่วมประเวณีมาฟ้องหย่าไม่ได้ 
 
อ้างอิง 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
 มาตรา 1516  เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
 มาตรา 1517 วรรคสอง
 เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
ทรัพย์ที่ได้จากการแบ่งสินสมรส เสียภาษีอย่างไร
ในกรณีแบ่งสินสมรสนั้น ไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยสมัครใจ หรือศาลพิพากษาให้แบ่ง ก็ต้องถือว่าทำให้ทรัพย์สินของคู่สมรสฝ่ายนั้นๆเพิ่มขึ้น และเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย โดยแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้
1. กรณีแบ่งสังหาริมทรัพย์ 
การแบ่งสังหาริมทรัพย์ เป็นการส่งมอบการครอบครอง และในการรับสังหาริมทรัพย์ ไม่ถือเป็นการรับเงินได้ และเมื่อไม่ใช่เงินได้ตามอนุมาตราหนึ่งมาตราใดแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40 จึงไม่ต้องคำนวนมูลค่าสังหาริมทรัพย์เป็นเงินเพื่อนำมาคำนวนรวมเป็นภาษีเงินได้
2. การแบ่งเงิน 
การแบ่งเงินไม่ได้ทำให้ทรัพย์สินของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพิ่มขึ้น จึงไม่ใช่จำนวนเงินที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นภาษีเงินได้ แต่อย่างไรก็ดี หากไม่ใช่การแบ่งสินสมรส แต่เป็นการส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูกัน เงินได้จากคู่สมรสถือเป็นเงินที่ได้รับให้โดยเสน่หาจากคู่สมรส ได้รับยกเว้นภาษีในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท 
3. การแบ่งอสังหาริมทรัพย์ แบ่งได้เป็น 2 กรณี
3.1 กรณีแบ่งเท่าๆกัน ไม่ถือเป็นการขาย และไม่ต้องนำมาคำนวณรวมเป็นภาษีเงินได้
3.2 กรณีแบ่งไม่เท่ากัน ต้องถือว่าถือว่าผู้โอนมีเงินได้ ต้องเสียภาษีตามมาตรา 41 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยคิดราคาที่พึงได้รับจากการขายที่ดินนั้นตามราคาประเมินทุนทรัพย์
อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 100/2543
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ กรณีการขาย การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
 (8) การแบ่งสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่ง มีราคาของแต่ละฝ่ายเท่ากัน ไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
 (9) การแก้ไขหรือการเพิ่มเติมชื่อคู่สมรสในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสินสมรสไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
 
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @cly.cmi
หรือ คลิก https://lin.ee/hCbTQl6
สาขาขอนแก่น โทร 095-9567735 แอดไลน์ @cly.kkn
หรือ คลิก https://lin.ee/U10ElNk
#ทนายใกล้ตัว
5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 639,855